ประยุกต์วงศ์, . (2004, September 14). ตลาดสินค้าเกษตรทางเลือก : กรณีศึกษาตลาดสีเขียว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=95.

ตลาดสินค้าเกษตรทางเลือก : กรณีศึกษาตลาดสีเขียว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วรรณา ประยุกต์วงศ์, โครงการจัดตั้งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย

Abstract

บทความนี้นำเสนอความเป็นมาและการดำเนินการของตลาดสีเขียวโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำเกษตรกรและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และวิเคราะห์พฤติกรรมและทัศคติของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดสีเขียว รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคโดยใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสัมภาษณ์ของผู้มาใช้บริการ ผลการศึกษาพบว่าตลาดสีเขียวในอำเภอหาดใหญ่เกิดจากความร่วมมือของภาคีสมาชิกในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายจากการบริโภคผลผลิตที่ใช้สารเคมี ขณะเดียวกันก็เพิ่มทางเลือกในด้านแหล่งเลือกซื้ออาหารที่ปลอดสารเคมีอีกด้วย ผลการดำเนินการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แม้ว่าจะมีผู้บริโภคประมาณ 200 คนต่อสัปดาห์ ในส่วนของผู้บริโภค พบว่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับตลาดสีเขียว มีรายได้ประมาณ 5,000 บาท ต่อเดือน มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพหลากหลายและมีทัศนคติที่ดีต่อตลาดสีเขียวคือ เห็นความแตกต่างของลักษณะตลาด ทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ทราบว่าเกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายสินค้าจึงมีความเชื่อมั่นว่าเป็นผักปลอดสารเคมีและต้องการสนับสนุนให้ตลาดสีเขียวดำเนินการต่อไปได้ ผลการศึกษาโดยใช้ผักพื้นบ้านเป็นตัวแทนสินค้าเกษตรทางเลือกและศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ที่อยู่ในวัยทำงาน อายุมากว่า 25 ปี พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรทางเลือกคือ รสนิยมและความพึงพอใจของผู้บริโภค ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากจำนวนชนิดของผักพื้นบ้านที่ผู้บริโภครู้จักรับประทานและความถี่ในการมาตลาดนัด คำสำคัญ : เกษตรทางเลือก, ตลาดสีเขียว This article dealt with the development and operation of the Green Market in Hat Yai district, using in-depth interview data obtained from farmer’s leaders and NGO officials, and analyzed the consumers’ behavior and attitude towards the Green Market as well as factors affecting their demands, using the data supplied by the consumers through an interview questionnaire. The Hat Yai Green Market was founded by the Alternative Agriculture Network; its objectives were to make consumers aware of the hazards of using products treated with various chemical agents, and to add choices to chemical-free markets. So far, the Market’s performance has met its initial objectives, with approximately 200 consumers each week. Most consumers were found to live near the Market, earn about 5,000 Bath a month, attain a Bachelor’s degree, and have diverse occupations. They had a positive attitude towards the Market, recognizing its distinguishing characteristics and its objectives. Because the farmers sold their own agricultural produce at the Market, the consumers were confident that all was chemical-free, and wished to support its continued operation. Using local vegetables as representative products and focusing on the working adults aged over 25, it was found that taste and preference were the crucial factors affecting the product demand; this was reflected in the number and kinds of local vegetables consumed as well as the frequency the consumers visited the Green Market. Keywords : alternative agriculture, Green Market

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=95