อาพัทธนานนท์, ., & Arphattananon, <. (2011, October 12). นโยบายการศึกษาและการปฏิบัติของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับความเป็นพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี
Policies and Practices of Primary Schools in the Southernmost Provinces of Thailand and Multiculturalism: Case Study of Schools in Pattani Province. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 17(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=903.

นโยบายการศึกษาและการปฏิบัติของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับความเป็นพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี
Policies and Practices of Primary Schools in the Southernmost Provinces of Thailand and Multiculturalism: Case Study of Schools in Pattani Province

ฐิติมดี อาพัทธนานนท์, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Thithimadee Arphattananon, Faculty of Education, Prince of Songkla University

Abstract

The three southernmost provinces of Thailand are culturally diverse. In the past, the cultural diversity of people in the area had caused conflicts in several aspects, education included. Nowadays, the cultural diversity of the three southernmost provinces has been increasingly accepted. Amidst current situation, what are the policies and practices of schools the three southernmost provinces in educating culturally diverse students? This research examined the policies and practices of public primary schools in the three southernmost provinces as well as the results of such policies and practices. Three public primary schools in Pattani province were selected as sample sites of the study. The researcher used “multicultural education” as a conceptual framework. Qualitative research methodology was employed. The data collection methods were interview, observation and the examination of document. The result of the study shows that the three schools have policies and practices that took students’ cultures into concern. However, when analyzed through the multicultural education framework such policies and practices did not create mutual understanding among students of diverse cultures. The instruction was test-driven and students’ cultures were not integrated as a method of learning.

Keywords: cultural diversity, education, multicultural education, three southernmost provinces

บทคัดย่อ
พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในอดีต ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเช่นนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการศึกษา ในปัจจุบันมีความตระหนักถึง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้นทั้งใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้สภาพทางสังคมในปัจจุบัน นโยบายการศึกษาและการปฏิบัติของโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงนโยบายและการปฏิบัติของโรงเรียนประถม ศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมถึง ศึกษาผลของนโยบายและการปฏิบัติดังกล่าว โดยเลือกจังหวัดปัตตานีเป็นกรณีศึกษาและใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับ พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนประถมศึกษาสามโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี วิธีเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และ การศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนทั้งสาม คำนึงถึงวัฒนธรรมของผู้เรียนในการกำหนดนโยบาย และมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน แต่เมื่อพิจารณาตามกรอบแนวคิดของพหุวัฒนธรรมศึกษา นโยบายและการปฏิบัติเช่นนี้ของโรงเรียนไม่ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้เรียนที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมเท่าใดนัก รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนยังเป็นไปเพื่อการสอบและไม่ได้ใช้วัฒนธรรมของ ผู้เรียนเป็นสื่อในการเรียนรู้

คำสำคัญ: การศึกษา, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, พหุวัฒนธรรมศึกษา, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=903