นิสสภา, ., เจริญจิระตระกูล, ., & บรมธนรัตน์, . (2004, September 7). องค์กรและกฎหมายสำหรับการวางแผน และการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสานระหว่างป่าชายเลนและการทำนากุ้ง ในเขตแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=87.

องค์กรและกฎหมายสำหรับการวางแผน และการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสานระหว่างป่าชายเลนและการทำนากุ้ง ในเขตแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อยุทธ์ นิสสภา, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมศักดิ์ บรมธนรัตน์, สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มีขึ้นเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของการตอบสนองต่อองค์กรที่กำหนดนโยบาย แผน และใช้กฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการมีอยู่และการคงอยู่ของป่าชายเลน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวพันกับการทำนากุ้ง และการวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่าง ๆ โดยได้ทำการพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญสามประการ หรือ M-S-E (Mangrove forest-Shrimp farming-Environmental planning and management) เพื่อหาแนวทางที่จะชี้แนะให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงนโยบาย แผน และกฎเกณฑ์ข้อบังคับของแต่ละองค์กรเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีวิจัยที่เป็นกระบวนการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้ทรัพย์สินส่วนรวม หรือป่าชายเลน ผ่านเครื่องมือวิจัยเพื่อการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เรียกว่า Goal-Oriented Project Planning หรือ GOPP ผลของการวิจัยพบว่ารูปแบบการเป็นเจ้าของป่าชายเลนในเขตแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ยังขาดความชัดเจน ไม่มีขอบเขตของป่าชายเลนที่แน่นอน จึงส่งผลห้มีการใช้ช่องโหว่นี้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเป็นเจ้าของทรัพยากรให้เป็นประโยชน์ส่วนตัวในการทำนากุ้ง ประกอบกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนั้นขาดการประสานงานกัน จึงทำไม่สามารถใช้กฎหมายและข้อบังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้สรุปว่า การจำแนกสภาวะการเป็นเจ้าของทรัพยากรให้มีความชัดเจน เป็นพื้นฐานของการวางแผนการจัดการทรัพยากรที่เป็นทรัพย์สินส่วนรวม เพื่อที่จะส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนรวมนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและต่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป คำสำคัญ : กฎหมาย, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การทำนากุ้ง, ป่าชายเลน, องค์กร The objective of this study was to investigate responses of policies and plan implementation and enforcement of laws and regulations that resulted in existence and maintenance of Laem Talumphuk mangrove forest reserves in relation with shrimp farming activities. M-S-E or Mangrove forest-Shrimp farming-Environmental planning and management concept that integrated these seemingly conflicting components, was expected to provide a compromised solution for desirable institutional settings for an effective management of the common property resources such as mangrove forest. Goal-Oriented Project Planning (GOPP) teehnique was adapted for its use in data collection and analysis. The result of this research indicated that mangrove forest ownership and boundary were not clearly defined, which consequently changed the ownership pattern to become more privately owned. This had resulted in difficulties for the enforcement of laws and the implementation of the policies and plans of all concerned institutions. The ownership issue is crucial as it forms a basis for common property resource management plans that satisfy the needs of all stakeholders and the environment. Keywords : environmental management, institution, integrated, legal implication, mangrove forest, shrimp farming

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=87