ศุกรศร, ., ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ., Sukrasorn, <., & Prasithrathsint, A. (2011, May 21). องค์ประกอบทางความหมายของคำเรียกเสียงในภาษาไทย
Componential Analysis of Hearing Terms in Thai. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 17(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=865.

องค์ประกอบทางความหมายของคำเรียกเสียงในภาษาไทย
Componential Analysis of Hearing Terms in Thai

สิริวิมล ศุกรศร, ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Sirivimol Sukrasorn, Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
Amara Prasithrathsint, Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

Abstract

Hearing terms are lexical items used for identifying sounds perceived by human beings. Basic hearing terms in a language represent basic conceptual categories of sounds perceived by the speakers of that language. This study deals with hearing terms in Thai. It aims to analyze the meanings of basic hearing terms and linguistics strategies in forming non-basic hearing terms. The results of the study show that there are ten basic hearing terms in Thai representing nine basic categories of sounds: daŋ ‘loud’, kaŋwaan ‘resonance’, kɔ̂ŋ ‘echo’, bau or khɔ̂i ‘soft’, læ̌æm ‘sharp’, lék ‘thin’, thúm ‘mellow’, yài ‘thick’, and h æ̀æp ‘hoarse’. The analysis of the meanings of these basic hearing terms show that they are differentiated by eight dimensions of contrast: clarity, covering wide space, time consuming, consistence of sound, pitch, piercing, softness, and continuity. The analysis of non-basic hearing terms show that there are five main strategies in forming Thai non-basic hearing terms: using monolexemic words, combining two hearing terms, reduplication, combining hearing terms with a modifier, and using the word ʔɔɔ̀k.

Keywords: categories of sounds, ethnosemantics, hearing terms, semantic components

บทคัดย่อ
คำเรียกเสียงหมายถึงคำที่ใช้ระบุเสียงที่ได้ยิน เพื่อบ่งบอกคุณสมบัติของเสียงตามการรับรู้พื้นฐานของ มนุษย์ และยังเป็นตัวแทนการจัดประเภทของเสียงในมโนทัศน์ของผู้พูดภาษา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คำเรียกเสียงในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ โดยจำแนกคำเรียกเสียงออกเป็นคำเรียกเสียงพื้นฐาน และคำเรียกเสียงไม่พื้นฐาน และวิเคราะห์ความหมายของคำเรียกเสียงพื้นฐานด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ นอกจากนี้ยังมุ่งวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำเรียกเสียงไม่พื้นฐานด้วย ผลการวิเคราะห์พบว่าคำเรียกเสียงพื้นฐานใน ภาษาไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 10 คำ ได้แก่ คำว่า ดัง กังวาน ก้อง ค่อย/เบา แหลม เล็ก ทุ้ม ใหญ่ และ แหบ คำเหล่า นี้แทนประเภทเสียงพื้นฐาน 9 ประเภท เมื่อวิเคราะห์ความหมายของคำเรียกเสียงพื้นฐานโดยวิธีการวิเคราะห์ องค์ประกอบ พบว่า คำเหล่านี้แตกต่างกันด้วยมิติแห่งความแตกต่าง 8 มิติ ได้แก่ ความชัดเจนของการได้ยิน การกินพื้นที่ การกินเวลา ความคงที่ของการได้ยิน ระดับเสียง ความเสียดแทง ความนุ่มนวล และความต่อเนื่อง ของเสียง ผลการวิเคราะห์คำเรียกเสียงไม่พื้นฐาน พบว่ามีกลวิธีสร้างคำทั้งสิ้น 5 กลวิธีหลัก ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้ ศัพท์เดี่ยว เช่น กระหึ่ม อื้ออึง 2) กลวิธีการผสมคำเรียกเสียงเข้าด้วยกัน เช่น ก้องกังวาน เล็กแหลม 3) กลวิธีการ ซ้ำคำเรียกเสียง เช่น เบาๆ แล้ม-แหลม 4) กลวิธีการผสมคำเรียกเสียงกับคำขยาย เช่น ทุ้มลึก แหลมบาดหู และ 5) กลวิธีการใช้คำว่า ออก เช่น ออกแหลม ออกห้าว

คำสำคัญ: คำเรียกเสียง, ประเภทของเสียง, องค์ประกอบทางความหมาย, อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=865