วีระวัฒนานนท์, . (2004, September 6). การพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=84.

การพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา

วินัย วีระวัฒนานนท์, สถาบันสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ–ชีวภาพของโรงเรียน การจัดทำแผนการสอนและความรู้ความเข้าใจและเจตคติของนักเรียนต่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยคัดเลือกโรงเรียนบ้านคบอง 31 อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวมกัน 116 คน เป็นโรงเรียนพัฒนา การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ-ชีวภาพ การพัฒนาแผนการสอนและการนำแผนการสอนไปใช้ มีการประเมินผลหลังการทดลองเพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเยนและเจตคติของนกัเรียนต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมขึ้นด้ยการปลูกต้นเข็มตามแนวถนนหน้าโรงเรียน พัฒนาพื้นที่ทำแปลงเกษตร พัฒนาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้และปรับปรุงบริเวณโรงเรยนให้เป็นระเบีบสะอาดร่มรื่น ผลการประเมินสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอยู่ในระดับดีมาก 2) โรงเรียนพัฒนาแผนการสอนวิชาสิ่งแลด้อมสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 4 แผนการสอนพัฒนามาจากกลุ่มวิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,5 และ 6 นั้นพัฒนามาจากกลุ่มวิชาทักษะ (ภาษาไทย) นอกจากนี้โรงเรียนยังจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการรั้วธรรมชาติ และโครงการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ผลการประเมินแผนการสอนอยู่ในระดับดี 3) หลังจากนำแผนการสอนไปใช้ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับดี ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีความรู้ในระดับพอใช้ ส่วนการประเมินเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน พบว่า นักเรียนทุกระดับมีเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมในระดับดี สิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถพัฒนาให้มีขึ้นจากหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ได้ผลดีนั้น จำต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ-ชีวภาพและการเรียนการสอนไปพร้อมกัน ขณะเดียวกันครูอาจารย์และนักเรียนต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : การศึกษาสิ่งแวดล้อม, เจตคติสิ่งแวดล้อม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แผนการสอน, สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ-ชีวภาพ, สิ่งแวดล้อมศึกษา

Abstract
This experimental research aimed to study the development of a school biophysical environment, preparation of instructional plans, and students’ knowledge and attitudes toward environment. Ban Khlong 31 School of Amphoe Ban Na in Nakhon Nayok province, with 116 students (Prathomsuksa 1-6) was selected for an experiment. The research procedure included the development of the school’s biophysical environment, development of instructional plans, and their implementation; a posttest to measure and assess students’ academic achievement and attitudes toward environment was later carried out. It was found that : 1) The school improved its environment by growing decorative plants along the road in front of the school, clearing the ground for agricultural plots, improving the community surrounding and making it a learning resource, as well as tidying and cleaning the school compound. The school’s biophysical environment was rated at an excellent level. 2) Instructional plans on environmental education for Prathomsuksa 1-6 were developed. For Prathomsuksa 1,2 and 4, instructional plans were developed from Life’s Experiences curriculum, and for Prathomsuksa 3,5 and 6 from Thai Language Skills curriculum. Additional activities to promote environment improvement included Natural Fence Project, and Caring for School Area Project. Instructional plans were rated at a good level. 3) After the implementation of developed instructional plans, Prathomsuksa 1-4 students’ knowledge about environment was at a good level, and that of Prathomsuksa 5-6 students was at a fair level. Students of all levels had a good attitude toward environment. From existing curricula, an environmental education can be organized. To fully develop the students’ potentials, biophysical environment and instruction should be concurrently developed, and teachers and students should closely and continuously cooperate.

Keywords : academic achievement, biophysical environment, environmental attitudes, environmental education, environmental studies, instructional plan

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=84