ณรงค์รักษาเขต, ., หลังปูเต๊ะ, ., แวอูเซ็ง, ., ยี่สุนทรง, ., สะอะ, ., Narongraksakhet, <., Lungputeh, S., Wae-Useng, N., Yisunsong, A., & Saad, K. (2011, February 28). วิเคราะห์ความต้องการเพื่อพัฒนากรอบหลักสูตรตาดีกา และสถาบันศึกษาปอเนาะ
Needs Assessment for Developing Curriculum Guidelines for TADIKAs and Pondoks. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 17(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=839.

วิเคราะห์ความต้องการเพื่อพัฒนากรอบหลักสูตรตาดีกา และสถาบันศึกษาปอเนาะ
Needs Assessment for Developing Curriculum Guidelines for TADIKAs and Pondoks

อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุกรี หลังปูเต๊ะ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิยาลัยอิสลามยะลา
นิเลาะ แวอูเซ็ง, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อะห์มัด ยี่สุนทรง, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กาเดร์ สะอะ, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Ibrahem Narongraksakhet, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
Shukri Lungputeh, Faculty of Social Sciences, Yala Islamic University
Niloh Wae-Useng, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
Ahmad Yisunsong, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
Kader Saad, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University

Abstract

The objectives of this study were 1) to study the needs of Muslim communities in order to determine the curriculum guidelines for TADIKAs and Pondoks 2) to study possibilities in penetrating academic contents in curriculum of Pondoks. The study was employed both quantitative and qualitative researches. Data for quantitative research were obtained from field survey from 800 samples which was divided into two categories, namely, 400 samples for TADIKAs and 400 for Pondoks while qualitative data were obtained from 20 experts through focus group.The findings from the quantitative research were as such there should be two curricula proposed for TADIKAs, namely, 1) the curriculum which was designed for the continuity to the Curriculum of Islamic Studies of 2003, and 2) the former curriculum of TADIKAs which was informal one. Those findings were consistent with the findings of the qualitative data obtained from the focus group. Beside the above findings, there were findings which also showed that Muslim communities did not want academic subject provided in TADIKAs since nearly most of TADIKA’s pupils had already studied those subjects in basic educational schools. With regards to subjects or subject areas of TADIKA, the finding showed that there should be eight subject areas, namely, Melayu, Fiqh, Tauheed, Tafsir, Hadith, Tarikh, Akhlaq, and Arabic. However, which was informal one since majority of Muslim communities did not want Pondok to transform into modern Pondok. They needed Pondok to provide informal education, no secular subjects needed to be taught in this institution. However, life skills could be taught, on the other hands, vocational and academic subjects could be offered only to Pondoks which were ready to develop into modern ones. These findings were consistent with the findings of the qualitative research of the study. With regards to the curriculum guidelines of Pondoks, the findings showed that there should be eight subjects taught in Pondoks, namely, Fiqh, Hadih, Tafsir, Tauheed, Akhlaq, Tarikh, Akhlaq, and Melayu. These findings were also consistent with the findings obtained from qualitative research.

Keywords: curriculum guidelines, pondok, TADIKA

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของสังคมมุสลิมเพื่อนำมากำหนดเป็นกรอบ หลักสูตรให้กับตาดีกาและสถาบันศึกษาปอเนาะ 2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการแทรกเนื้อหาสามัญ ในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูล เชิงปริมาณได้มาจากการเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 800 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับ ตาดีกา 400 คน และสำหรับสถาบันศึกษาปอเนาะ 400 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากการทำการเสวนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่าหลักสูตรตาดีกาควรมีสองลักษณะ กล่าวคือ 1) หลักสูตรที่สามารถต่อยอดกับหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 และ 2) หลักสูตรที่คงอัตลักษณ์เดิมของ การจัดการการศึกษาตามอัธยาศัย ข้อค้นพบดังกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อค้นพบจากข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการ ทำเสวนากลุ่ม สังคมมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนวิชาสามัญในตาดีกา เพราะผู้เรียนในตาดีกาส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยประถมศึกษา ซึ่งผู้เรียนเหล่านี้ได้เรียนวิชาสามัญในโรงเรียนขั้น พื้นฐานแล้ว สำหรับสาระหรือรายวิชาที่ควรมีการเรียนการสอนในตาดีกาประกอบด้วย 8 รายวิชากล่าวคือ ภาษามาลายู ศาสนบัญญัติ (ฟิกฮ) เอกภาพ (เตาฮีด) อรรถาธิบายอัลกุรอาน (ตัฟสีร) วจนศาสดา (หะดีษ) ศาสนประวัติ (ตารีค) จริยธรรม (อัคลาก) ภาษาอาหรับ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า กรอบ หลักสูตรของสถาบันศึกษาปอเนาะควรคงอัตลักษณ์เดิมของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะสังคมมุสลิม ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ปอเนาะเป็นปอเนาะสมัยใหม่ และต้องการให้ปอเนาะจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนวิชาสามัญ อย่างไรก็ตามการสอนทักษะชีวิตนั้นสามารถกระทำได้ ส่วนปอเนาะ ที่มีความประสงค์จะเป็นปอเนาะสมัยใหม่ (Modern Pondok) การเรียนการสอนวิชาชีพ และวิชาสามัญบางวิชา สามารถกระทำได้ ข้อค้นพบเชิงปริมาณดังกล่าวสอดคล้องกับข้อค้นพบเชิงคุณภาพในงานวิจัยนี้ สำหรับกรอบหลักสูตรของปอเนาะนั้นสังคมมุสลิมต้องการให้ปอเนาะมีการเรียนการสอน 8 รายวิชาคือศาสนบัญญัติ (ฟิกฮ) วจนศาสดา (หะดีษ) อรรถาธิบายอัลกุรอาน (ตัฟสีร) เอกภาพ (เตาฮีด) จริยธรรม (อัคลาก) ศาสนประวัติ (ตาริค) ภาษาอาหรับ และภาษามาลายู ข้อค้นพบเชิงปริมาณดังกล่าวนี้ก็สอดคล้องกับข้อค้นพบเชิงคุณภาพที่ได้จากการ ทำเสวนากลุ่มเช่นกัน

คำสำคัญ: กรอบหลักสูตร, ตาดีกา, ปอเนาะ

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=839