ศรประสิทธิ์, ., & ประยุกต์วงศ์, . (2004, September 6). แบบแผนการผลิต-จำหน่วยผ้าทอพื้นบ้านและศักยภาพของช่างทอผ้าภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=81.

แบบแผนการผลิต-จำหน่วยผ้าทอพื้นบ้านและศักยภาพของช่างทอผ้าภาคใต้

อัมพร ศรประสิทธิ์, โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วรรณา ประยุกต์วงศ์, โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแบบแผนการผลิต-จำหน่ายผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้และศักยภาพของช่างทดผ้าพื้นบ้านภาคใต้ โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากช่างทอผ้าที่ยังทำหรือหยุดทอผ้าแล้วในปัจจุบัน ในแหล่งทอผ้า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา จำนวน 244 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบพอกพูน (Snowball Sampling) ผลการศึกษาเรื่องแบบแผนการผลิต-จำหน่ายผ้าทอพบว่า สตรีช่างทอผ้ามีบทบาทเป็นแม่บ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน มีรายได้จากอาชีพทอผ้าประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน การทอผ้าครั้งแรกได้เรียนรู้จากแม่ของตนเอง แต่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าเพิ่มเติมจากหลายทาง เช่น การอบรม การฝึกเองโดยดูจากต้นแบบ และเรียนรู้จากคนในชุมชน โดยส่วนใหญ่จะรับจ้างทอผ้าโดมีผู้ว่าจ้างเป็นนายทุนท้องถิ่นหรือช่างทอผ้าด้วยกัน และมีข้อจำกัดในแหล่งจำหน่ายผ้าทอ ช่างทอผ้าในแหล่งทอผ้าจังหวัดสงขลามีศักยภาพในการสร้างรายได้เสริมสูงสุด ในขณะที่สตรีช่างทอผ้าในจังหวัดตรังมีศักยภาพในการสร้างรายได้ต่ำที่สุด แต่กลับมีศักยภาพในการพัฒนาขีดความสามรรถของช่างทอ และมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะทักษะในการรวมกลุ่มและการจัดการกลุ่มสูงที่สุด ในขณะที่แหล่งทอผ้าที่เหลือมีศักยภาพในภาพรวมรองลงมา

คำสำคัญ :
การทอผ้า, ช่างทอผ้าพื้นบ้านภาคใต้, แบบแผนการจำหน่าย, แบบแผนการผลิต

Abstract
The objective of this paper was to survey the production-distribution patterns of local cloth weaving in southern Thailand, and determine the potential of southern weavers by using the 244 samples of survey data supplied by both working and retired weavers from Surat Thani, Nakorn Si Thammarat, Trang and Songkhla Provinces. The production-distribution pattern survey showed that most weavers were middle-aged housewives, with income from weaving of –3,000 baht per month. Even though they started learning to weave from their mother, they had gotten an additional learning from various ways such as training, learning by themselves and their neighbors in the community. Most weavers were employed by a local investor of other local weavers. A maim barrier to their income potential was a limitation of selling opportunities. Weavers in Songkhla Province had the most potential for supplementing the family income, while those from Trang Province had the least. However, the Trang Province weavers showed the most potential in developing weaving ability, and also in other skills, especially group formation and management. Female weavers in the other provinces had the lowest potential of the 3 areas surveyed.

Keywords : distribution pattern, local cloth weaving, production pattern, Southern weaver

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=81