ศรแผลง, ., กิตติธรกุล, ., ศรีชัย, ., Sornplang, <., Kittitornkool, J., & Srichai, N. (2010, November 8). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
The Development of Public Participation in Solid Waste Management: A Case Study of Cherngtalay Municipality,Thalang District, Phuket Province. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=794.

การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
The Development of Public Participation in Solid Waste Management: A Case Study of Cherngtalay Municipality,Thalang District, Phuket Province

ณีรวรรณ ศรแผลง, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เยาวนิจ กิตติธรกุล, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นัยนา ศรีชัย, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Neerawan Sornplang, Faculty of Technology and Environment, Prince of Songkla University
Jawanit Kittitornkool, Faculty of Technology and Environment, Prince of Songkla University
Naiyana Srichai, Faculty of Technology and Environment, Prince of Songkla University

Abstract

This action research aims to develop and study the process of community’s participation in solid waste management, as well as studying factors related to the process and the levels of participation. The study area covers 5 sub-roads in the Beautiful Roads without Garbage Bins Project by Cherngtalay Municipality, Thalang District, Phuket Province. The study is based on both qualitative and quantitative research methods. The qualitative research method was employed in 2 sub-road: Srisunton Road and Cherngtalay 12 with about 30 household representatives and 3 municipal officials whose work are related to the environment. The quantitative research method was done at the 5 sub-roads: Srisunton Road and Cherngtalay-Bandon Road Cherngtalay Soi 12, 14, 16 and 16/1 with 245 household representatives. The results show that most people have knowledge, understanding, attitudes and practices concerning solid waste management. But the overall level of participation is very low. The factors facilitating the process are the community’s acceptance of the Mayor and his team and the community’s kinship relations. Obstructing factors are: 1) community aspect : the limitations of urban community and the dwellers’ time constraints; 2) the municipal aspect : inconsistent project support and inadequate public relations. The result of a stepwise multiple regression analysis shows that factors contributing to the public participation include trust in the administrative team, practices in solid wastes management, the perception of project information and the knowledge of solid waste management (R2 = 0.579).

Keywords: Phuket municipality, public participation, solid waste management, the development of public Participation

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ มูลฝอย และศึกษาผลจากการพัฒนาและปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดการมูลฝอย รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยในเขตเทศบาล ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ การเลือกพื้นที่ ศึกษาโดยการเลือกพื้นที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมถนนสวยปลอดถังขยะของเทศบาลตำบลเชิงทะเล ส่วนพื้นที่สำหรับการ วิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ เส้นทางถนนศรีสุนทรและซอยเชิงทะเล 12 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ เทศบาลตำบลเชิงทะเลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการมูลฝอย จำนวน 3 คน และตัวแทน ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์ จำนวน 30 ครัวเรือน และพื้นที่สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ เส้นทางถนนศรีสุนทรและถนนเชิงทะเล-บ้านดอน ซอยเชิงทะเล 12 ซอยเชิงทะเล 14 ซอยเชิงทะเล 16 และ ซอยเชิงทะเล 16/1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จำนวน 245 ครัวเรือน ผลจาก การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติ เพิ่มขึ้น อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดการมูลฝอย คือ 1) ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ความเชื่อถือศรัทธาต่อนายกเทศมนตรีและคณะ เทศมนตรี และความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ 2) ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ความเป็นชุมชนเมือง ข้อจำกัดด้านเวลาของสมาชิกในชุมชน 2) ปัจจัยข้อจำกัดของ เทศบาล ได้แก่ การขาดการสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง การขาดการประชาสัมพันธ์ และข้อจำกัดด้านเวลา ของเทศบาลและภาระหน้าที่ของบุคลากร ผลการทดสอบทางสถิติโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย__ ได้แก่ ความเชื่อถือศรัทธาต่อคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลเชิงทะเล พฤติกรรมด้านการจัดการมูลฝอย การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการมูลฝอย อธิบายการผันแปรของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลเชิงทะเลได้ร้อยละ 57.9 (R2 = 0.579)

คำสำคัญ: การจัดการมูลฝอย, การพัฒนาการมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เทศบาลภูเก็ต

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=794