จงเจริญ, ., ทองอุไร, ., หัถกิจ, ., Chongchareon, <., Tongurai, P., & Hatthakit, U. (2010, November 8). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก: กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ประสบธรณีพิบัติภัย
Development o68f1 an Integration of Eastern Wisdom Health Promotion Model: A Case Study of Tsunami Affected School. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=793.

การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก: กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ประสบธรณีพิบัติภัย
Development o68f1 an Integration of Eastern Wisdom Health Promotion Model: A Case Study of Tsunami Affected School

วิมลรัตน์ จงเจริญ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พิไลรัตน์ ทองอุไร, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อุไร หัถกิจ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Wimonrat Chongchareon, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University
Pilairat Tongurai, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University
Urai Hatthakit, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University

Abstract

The objective of this study was to develop an integration of eastern wisdom into health promotion model for students of a Tsunami affected school in Pangnga Province, Thailand. The study was conducted by using action research. Participants were thirty Tsunami affected students. Data were collected by in-depth interview from 2006-2008 and were analyzed by using content analysis. The finding revealed that the model was named “sukapap-dee-mee-suk” which included health promotion activities: 1) providing Buddhist mind cultivation project; 2) improvement of first aid services; 3) improvement of school food menu to increase milk and fruits; 4) increasing vegetable, fruit and herb plantation in the school for self consumption; 5) establishment of yoga and taichi club for health, and 6) continuing health exhibition. Strategies used for implementing the project were establishing of relationship, group discussing and reflecting, providing health education, promoting active participation of stakeholders and empowering. Outcomes of the model were the improvement of health care behaviors, and the decreasing of students’ illness incidences, the balance of body-mind, and more enjoyable and happy living.

Keywords: eastern wisdom, health promotion, school, Tsunami

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกสำหรับ นักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยจังหวัดพังงา ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลในปี 2549 ถึง 2551 ผู้ร่วมโครงการเป็นนักเรียนที่ประสบธรณีพิบัติภัย จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยได้รูปแบบที่ชื่อว่า “ สุขภาพดี มีสุข” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1)พัฒนาจิตด้วยวิถีพุทธ 2) พัฒนาบริการปฐมพยาบาล 3) ปรับปรุงรายการอาหารโดย เพิ่มนมและผลไม้ 4) ปลูกผัก ผลไม้และสมุนไพรเพื่อบริโภคในโรงเรียนมากขึ้น 5) จัดตั้งชุมนุมโยคะและไทเก็กเพื่อ สุขภาพ 6) จัดนิทรรศการให้ความรู้สุขภาพอย่างต่อเนื่อง กลวิธีที่ใช้คือ สร้างสัมพันธภาพที่ดี สนทนากลุ่มและสะท้อน คิด เสริมความรู้และทักษะ สร้างการร่วมเป็นหุ้นส่วนโครงการและเสริมสร้างพลังอำนาจ ผลที่เกิดจากการดำเนิน โครงการ คือ นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น การเจ็บป่วยลดลง มีความสมดุลทางด้านจิตใจและอารมณ์ มีชีวิตที่มี ความสุขและสนุกสนาน

คำสำคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพ, ธรณีพิบัติภัย, ภูมิปัญญาตะวันออก, โรงเรียน

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=793