ทวีสันทนีนุกูล, ., อินทร์รักษ์, ., Taweesuntaneenukul, <., & Intarak, C. (2010, November 8). ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างภาวะผู้นำปริวรรต การใช้อำนาจ ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับความมุ่งมั่นและความพยายามของครู ความพอใจในงาน และแรงจูงใจในการปฏิรูปสถานศึกษา
Canonical Relationship between Transformational Leadership, Power Using, Emotional Quotient of Administrators and Teachers’ Commitment and Effort, Job Satisfaction, and Motivation in School Reform. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=791.

ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างภาวะผู้นำปริวรรต การใช้อำนาจ ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับความมุ่งมั่นและความพยายามของครู ความพอใจในงาน และแรงจูงใจในการปฏิรูปสถานศึกษา
Canonical Relationship between Transformational Leadership, Power Using, Emotional Quotient of Administrators and Teachers’ Commitment and Effort, Job Satisfaction, and Motivation in School Reform

เสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Saowanit Taweesuntaneenukul, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Prince of Songkl
Choomsak Intarak, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Prince of Songkl

Abstract

This research aimed 1)to study the rate and the pattern of the highest relation between administrators’ variables and teachers’ variables. 2) to study the prominent weight of canonical from canonical correlation between administrators’ variables and teachers’ variables 3)to build composed variable or canonical variable from correlation coefficient between administrators’ variables and teachers’ variables. The samples were teachers and administrators. There were two questionnaires. It was found that the higher group of intercorrelation coefficient between groups of variables: the happiness and the commitment, the happiness and the effort, the smartest and the commitment, the happiness and job satisfaction in his colleagues. Canonical between Root 1 and Root 2 has Eigen values can explain variance of it 32.98% and 12.23% significance at the .05 level. Parameter of its called emotional quotient and using positive power with teachers’ commitment and using strict power with job satisfaction. Keywords: canonical relationship, commitment and effort, emotional quotient, job satisfaction and

motivation, power using, transformational leadership

บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตราและแบบแผนความสัมพันธ์สูงสุดระหว่างชุดตัวแปรด้านผู้บริหาร และชุดตัวแปรด้านครู 2) เพื่อศึกษาค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอล จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ระหว่างชุดตัวแปรด้านผู้บริหารและชุดตัวแปรด้านครู 3) เพื่อสร้างตัวแปรประกอบหรือตัวแปรคาโนนิคอล จาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างชุดตัวแปรด้านผู้บริหารและชุดตัวแปรด้านครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือคือแบบสอบถาม 2 ชุด ผลการวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายใน ระหว่างตัวแปรด้านผู้บริหารและระหว่างกลุ่มตัวแปรด้านครู ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในข้ามกลุ่ม ระหว่าง ตัวแปรด้านผู้บริหารกับตัวแปรด้านครู ความสุขกับความมุ่งมั่น ความสุขกับความพยายาม ความเก่งกับความ มุ่งมั่น ความสุขกับความพอใจในผู้ร่วมงาน ความเก่งกับความพยายาม ความดีกับความมุ่งมั่น สหสัมพันธ์ คาโนนิคอลระหว่างกลุ่มตัวแปรด้านผู้บริหารและตัวแปรด้านครูมีจำนวน 9 คู่ โดย Root ที่ 1 และ Root ที่ 2 อธิบาย ความแปรปรวนร่วมได้ ร้อยละ 32.98 และ ร้อยละ 12.23 มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สร้างพารามิเตอร์ในรูป ของชุดตัวแปรเกี่ยวกับครูขึ้นใหม่โดยให้ชื่อว่า ความฉลาดทางอารมณ์และการใช้อำนาจด้านบวก กับ ความมุ่งมั่น ของครู และการใช้อำนาจแบบเข้มงวดของผู้บริหาร กับความพอใจในงานของครู

คำสำคัญ: การใช้อำนาจ, ความฉลาดทางอารมณ์, ความมุ่งมั่นและความพอใจในงาน, ความสัมพันธ์เชิง คาโนนิคอล, ภาวะผู้นำเชิงปริวรรต

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=791