ธรรมสัจการ, ., ชูถึง, ., สวนเรือง, ., น้อยพันธ์, ., มากแก้วกุล, ., Dhammsaccakarn, <., Choothueng, N., Suanruang, P., Noipann, ., & Makkaewkul, N. (2010, October 15). แลลึกในการจัดการและการพักอาศัยในหอพักสู่หนทางแห่งความสุขและคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
A Regardful Study of the Dormitory-Habitation Management and the Students’ Life Quality in Prince of Songkla University, Hat Yai Campus. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=771.

แลลึกในการจัดการและการพักอาศัยในหอพักสู่หนทางแห่งความสุขและคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
A Regardful Study of the Dormitory-Habitation Management and the Students’ Life Quality in Prince of Songkla University, Hat Yai Campus

วันชัย ธรรมสัจการ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ณัฎิยา ชูถึง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาสกร สวนเรือง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พลภัทร น้อยพันธ์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นัยนา มากแก้วกุล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Wanchai Dhammsaccakarn, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University
Nadiya Choothueng, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University
Passakorn Suanruang, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University
Ponlapat Noipann, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University
Naiyana Makkaewkul, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University

Abstract

The purpose of this study was to find the conditions or factors that involved students’ quality of life who stayed in Prince of Songkla University’s dorms, Hat Yai campus. The data were collected from four focus groups technique, the total of stakeholders 31, and completed questionnaires by 519 students. The findings showed that the factors which affected students’ quality of life were experiences of self adaptations, public mind, materials and facilitating of living, services and safety system. All of factors will be accomplished by good management and sound of communications. However, the different background of the students was different in satisfactions and quality of life. All of the five factors predicted 20.8 percentage students’ quality of life. The appropriated predictive equation was quality of life (y) = 1.315 + 0.276 X4 (services) + 0.200 X2 (public mind) + 0.170 X1 (self adaptations) + 0.111 X3 (materials and facilitates of living)

Keywords: adaptation, public mind, quality of life, safety system

บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตในแง่ความสุข ของนักศึกษาในหอพักของมหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (focus group) นักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน 4 กลุ่ม มีจำนวนผู้เข้าร่วมสนทนา 31 คน และจากแบบวัดที่สร้างขึ้น จากกลุ่มตัวอย่าง 519 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาพักอาศัยในหอพักอย่างมีความสุข ได้แก่ ประสบการณ์การปรับตัว การมีจิตสำนึกสาธารณะ การมีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก การได้รับการบริการ และ การรักษาความปลอดภัย โดยปัจจัยทั้งหมดจะบรรลุผลได้ต้องผ่านการสื่อสารและบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกันมีคุณลักษณะความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในแง่ความสุขแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ผล ในภาพรวม พบว่า ปัจจัยทั้งห้าร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตในแง่ความสุขในการพักอาศัยในหอพักของนักศึกษาได้ ร้อยละ 20.8 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ที่เหมาะสมได้ ดังนี้ คุณภาพชีวิตในแง่ความสุข (y) = 1.315 + 0.276 X4 (ความพึงพอใจด้านการให้บริการ) + 0.200 X2 (จิตสำนึกสาธารณะ) + 0.170 X1 (การปรับตัว) + 0.111 X3 (ความพึงพอใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก)

คำสำคัญ: การปรับตัว, คุณภาพชีวิต, จิตสำนึกสาธารณะ, ระบบรักษาความปลอดภัย

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=771