แก่นอินทร์, ., นภาพงศ์, ., จัวนาน, ., ศรีชู, ., & ระเด่นอาหมัด, . (2004, September 6). รูปแบบการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=75.

รูปแบบการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ธีรพงศ์ แก่นอินทร์, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิชัย นภาพงศ์, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จรูญ จัวนาน, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มะลิ ศรีชู, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นิฟาริด ระเด่นอาหมัด, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้รผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มขนาดเล็กและกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เพื่อศึกษาระดับเจตคติ ระดับความพึงพอใจ คุณลักษณะอื่น ๆ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1,2,3 และ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคเรียนที่ 1/2543 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบวัดดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติ แบบวัดความพึงพอใจ แบบสอบถามคุณลักษณะอื่นและการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มขนาดเล็กมี 5 รูปแบบ สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มขนาดใหญ่ มี 1 รูปแบบ 2) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มขนาดเล็กอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มขนาดใหญ่อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในทุกกลุ่มนักศึกษา 4) ระดับเจตคติของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย 5) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 6) ระดับคุณลักษณะอื่นที่พึงประสงค์ของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 7) ไม่มีปัญหาสำคัญใด ๆ เกิดขึ้นจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน คำสำคัญ : นักศึกษาระดับปริญญาตรี, ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, รูปแบบการเรียนการสอน The purposes of this research were to synthesize learner-centred teaching-learning models for small size groups and big size groups of undergraduate students; to study learning achievement levels and to compare the students’ learning achievements before and after learning; and to study attitude levels, satisfaction levels, other characteristic levels and problems pertaining to the use of the models. The samples were chosen purposively from the first, second, third and fourth year undergraduate students in the first semester of the academic year 2000, Faculty of Education, Prince of Songkla University, The research instruments were learning achievement test, attitude test, satisfaction test, other characteristic questionnaires, and the diaries. Arithmetic means, standard deviation and the t-test were used in data analysis. The data from diaries were analyzed using content analysis technique. The findings were as follows: 1) There were 5 learner-centred teaching-learning models for small sine group of undergraduate students and 1 model for big size group. 2) The students’ learning achievements from small size groups were at a high to very high level, and the students’ learning achievements from big size groups were at a moderately high level. 3) The students’ learning achievements after learning were higher than before learning in every group of students. 4) The students’ attitudes were at a level of agreement. 5) The students’ satisfaction levels were high. 6) Other favorable characteristics of the students were at a high level. 7) No significant problems resulted from the use of the teaching-learning models. Keywords : Learner-centred approach, teaching-learning models, undergraduate students

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=75