นาควัชระ, ., & Nagavajara, <. (2010, August 3). สุนทรียภาพแห่งการวิจัย: ประสบการณ์ของนักมนุษยศาสตร์
An Aesthetics of Research: Experience of a Humanities Scholar. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=723.

สุนทรียภาพแห่งการวิจัย: ประสบการณ์ของนักมนุษยศาสตร์
An Aesthetics of Research: Experience of a Humanities Scholar

เจตนา นาควัชระ,

Chetana Nagavajara,

Abstract

The rat race for the so-called academic excellence, coupled with the lure of rewards in terms of public and corporate funding under various guises, has more than disfigured the essence of university life. Aping quality-control mechanisms of the business and industrial world, many universities have been operating like business concerns, whereby the role of research has been put in the forefront, particularly in those areas in which research findings can generate production and income, or at least create tangible social impact. The humanities and certain branches of the social sciences have been victimized in the process, and young recruits enter the university system today under the compulsion of having to produce, not necessarily knowledge and wisdom commensurate with their respective callings, but scientific papers that can be published in international journals, an outer garb that is supposed to represent an noble act which will secure the home institution a decent ranking among institutions worldwide. Against all the odds, groups of courageous survivors continue to pursue their traditional task of teaching and research that should constitute the daily life of academics, whereby inclination and duty conspire to create works of real merit that arise from the pleasure of pursuing knowledge and wisdom. It is the collegial solidarity within these academic diasporas that the speaker wishes to highlight, for in his experience research of true significance only thrives if and when an aesthetic sense predominates both the originating and the receiving ends.

Keywords: aesthetics, business, research, teaching, university

บทคัดย่อ
การแข่งขันกันอย่างรุนแรงในเรื่องของความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมถึงการแสวงหาความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ จากแหล่งทุนของรัฐและเอกชน ทำให้โฉมหน้าของอุดมศึกษาเปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยเริ่มเลียนแบบปฏิบัติของธุรกิจด้วยการนำกลไกการควบคุมคุณภาพของโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมไปใช้ โดยพยายามผลักดันให้การวิจัยกลายเป็นกิจที่นำหน้า โดยเฉพาะในสาขาที่การวิจัยส่งผลให้เกิดการผลิตและรายได้ หรืออย่างน้อยสามารถสร้างผลกระทบทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บางสาขาตกเป็นเบี้ยล่างในกระบวนการที่ว่านี้ โดยที่อาจารย์รุ่นใหม่ที่เข้ามาสู่ระบบถูกกำกับให้ผลิต คือมิใช่ผลิตความรู้และภูมิปัญญาตามความถนัดของตน แต่ผลิตบทความวิชาการที่สามารถลงพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติได้ ซึ่งอันที่จริงก็เป็นเพียงเปลือกนอกที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาให้เป็นภารกิจอันทรงเกียรติ เพราะจะช่วยยกฐานะของสถาบันของตนขึ้นมา ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมทางวิชาการจะเสื่อมทรุดไปอย่างไร ก็ยังมีกลุ่มนักวิชาการผู้ไม่ยอมแพ้ในการมุ่งเน้นการปฏิบัติภารกิจที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีในการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของอาจารย์ โดยที่ความสำนึกในหน้าที่และความพึงพอใจส่วนตนสมานกันเป็นเอกภาพ อันเป็นรากฐานของการสร้างงานที่ทรงคุณค่าซึ่งเกิดจากความหฤหรรษ์ของการแสวงหาความรู้และภูมิปัญญา ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไออุ่นแห่งความเป็นมนุษย์ของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ในระบบอุดมศึกษา ซึ่งส่งผลให้เกิดงานวิจัยที่มีความหมายและคุณค่าอันแท้จริงต่อประชาคมวิชาการและต่อสังคมเพราะทั้งผู้สร้างและผู้รับงานวิจัยยึดมั่นอยู่กับสุนทรียภาพ แห่งการวิจัยอย่างไม่เสื่อมคลาย

คำสำคัญ: การเรียนการสอน, การวิจัย, ธุรกิจ, สุนทรียภาพ, อุดมศึกษา

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=723