การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของชุมชน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการร่วมกันอนุรักษ์แหล่หญ้าทะเล โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล เป็นการ่วมมือกันของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลจากการทำประมงผิดกฎหมาย และการจับสัตว์น้ำก่อนวัยอันควรทำให้ปริมาณทรัพยากรชายฝั่งร่อยหรอลง ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงและความเป็นอยู่ของชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มผู้นำชุมชน ทั้งผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้ตระหนักต่อปัญหาที่เกิดขึ้ นอกจากนี้ชุมชนยังได้รับการกระตุ้นจากองค์การพัฒนาเอกชน (สมาคมหยาดฝน) ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล มีการแสวงหาแนวทางและเรียนรู้ประสบการณ์จากชุมชนที่ประสบความสำเร้จในการอนุรักษ์ โดยการประชุมร่วมกัน การทำความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลการอนุรักษ์ภายในชุมชน นอกจากนี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากนักวิชาการในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่ง โดยทำการวิจัยร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ปัจจัยที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ลักษณะสังคม เศรษฐกิจและการเมืองภายในชุมชน ความเป็นผู้นำของกลุ่มผู้นำ ความรู้ความเข้าใจต่อความสำคัญ ประโยชน์และการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล วิถีชีวิตที่ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และความสัมพันธ์แบบครูและลูกศิษย์ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ นโยบายและกฎหมาย ทั้งนี้ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกต่างมีการปฏิสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล, พลวัตการมีส่วนร่วมของชุมชน
This qualitative research aims to study the social, economic and political factors of fishing community, as well as other external factors contributing to the public participation in seagrass bed conservation at Tambon Koh Libong, Amphoe Kentang, Changwat Trang. It is found that the seagrass bed conservation is communitys efforts to solve the depletion of coastal resources, which is caused by illegal fishing. Moreover, over-fishing and the degradation of coastal resources, especially seagrass bed, led to increasing awareness of village leaders in both formal and informal organizations, The mobilization from of a non-governmental organization (NGO) (Yard Phon Association) is another factor contributive to the conservation. The public participation process began with learning from villages which have successful experiences in seagrass bed conservation. Then, information and knowledge about the conservation were disseminated among the villagers as the consequence of a related action research project conducted collaboratively by academics and the villagers. The enforcement of laws and regulations was also significant.
Factors contributive to the public participation are : 1) internal factors which include social economic, and political conditions; leadership; the understanding of importance of and approaches to conserving seagrass bed; exposure to conservation information; participating in conservation activities; sharing benefits from the conservation outcomes; villagers ways of life which rely on natural resources; kinship and teacher students relationships. 2) External factors which include government agencies, NGO, academics and the enforcement of laws and regulations. Both internal and external factors are interactive.
Keywords : dynamics of public participation, participation, seagrass bed conservation
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.