มีชาญ, . (2004, September 6). ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=71.

ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน

สุรชัย มีชาญ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน 5 วิธีคือ วิธี MR. วิธี Pass-3. วิธี Count-2, วิธี Count-3 และวิธี MTF โดยกำหนดคะแนนจุดตัดของแบบทดสอบตามวิธีของ Berk (1976) และประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ตามวิธีของ Livingston (1972) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 267-201 การวัดและการประเมินผลการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 173 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีกำหนดตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา 267-201 เรื่อง การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้ม เข้าสู่ส่วนกลาง และการวัดการกระจาย ประกอบด้วยข้อสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน มีความเชื่อมั่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการตรวจให้คะแนนด้วยวิธี Pass-3 ทำให้แบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกมีความเชื่อมั่นต่ำกว่าวิธีอื่น ๆ ยกเว้นเมื่อเปรียบเทียบกับวิธี MR ซึ่งไม่แตกต่างกัน 2. สัดส่วนของผู้สอบที่ได้รับการจำแนกเป็นผู้รอบรู้ โดยแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการตรวจให้คะแนนด้วยวิธี Pass-3 ทำให้มีสัดส่วนของผู้สอบที่ได้รับการจำแนกเป็นผู้รอบรู้ ต่ำกว่าวิธี Count-2 สำหรับวิธีอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบฟี (Phi-Correlation Coefficient) ระหว่างผลการจำแนกผู้สอบเป็นผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ของแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน มีค่าเป็นบวกและค่อนข้างสูง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า แสดงว่าแบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนต่างกัน สามารถจำแนกผู้สอบเป็นผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ได้อย่างสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ คำสำคัญ : ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ, แบบทดสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, แบบทดสอบอิงเกณฑ์, วิธีตรวจให้คะแนน This research was intended to compare the reliability of a multiple true-false test using five scoring methods : MR, Pass-3, Count-2, Count-3 and MTF. Cutting scores of test were determined by Berk’s method and test reliabilities were determined by Livingston’s method. Samples in this research were undergraduates at the Faculty of Education, Prince of Songkla University enrolled in the course 267-201 Educational Measurement and Evaluation in the semester of the academic year 1999. One hundred and seventy-three subjects were derived form purposive sampling. Instrument for data collection was a multiple true-false test developed to measure the achievement in learning the course 267-201. The test was a 30 item-four-choiced-test on Frequency Distribution, Measure of Central Tendency and Measure of Dispersion. The results of this study were as follows : 1. The reliability of the multiple true-false test using different scoring methods were significantly different at .05 level; Pass-3 method provided lowest reliability when compared with other methods with the exception of MR. 2. The proportion of examinees that were classified as mastery by the multiple true-false test using different scoring methods were significantly different at .05 level. Pass-3 method provided the proportion of mastery learners lower than Count-2 method. There was no difference among other methods. 3. The Phi-correlation coefficient between the results of mastery and nonmastery classification by the multiple true-false test using different scoring methods were positively high and significant at .05 level. It could be concluded that the multiple true-false test using different scoring methods could mostly classify mastery and nonmastery examinees consistently. Keywords : Criterion-referenced test, multiple true-false test, scoring method, test reliability

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=71