และซัน, ., แวอุเซ็ง, ., Lheasun, <., & Wae-u-seng, N. (2010, April 30). สภาพปัญหาการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง
States and Problems of Learning and Teaching Islamic Studies in Lower Secondary Islamic Private Schools in the Central Region. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(6). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=706.

สภาพปัญหาการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง
States and Problems of Learning and Teaching Islamic Studies in Lower Secondary Islamic Private Schools in the Central Region

เฉลิมพล และซัน, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นิเลาะ แวอุเซ็ง, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Chalermphon Lheasun, Department of Islamic Studies,College of Islamic Studies, Prince of Songkla Univ
Niloh Wae-u-seng, Department of Islamic Studies, College of Islamic Studies, Prince of Songkla Uni

Abstract

This study aimed to examine states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the central region with regard to curriculum and its implementation, teaching and learning process, teaching aids, and evaluation and assessment; and to compare their perceived level among teachers and students. The study also examined problems encountered and proposed suggestions. The samples consisted of 7 school administrators, 63 teachers, and 340 students. Structured-indepth interview and questionnaires were used for data collection. The analysis was based on content analysis and descriptive and inferential statistics i.e. t-test and F-test. The results revealed that teachers perceived moderate level on the overall and each aspect on curriculum and its implementation, teaching and learning process, teaching aids, and evaluation and assessment. Rather, students perceived high level on the overall and each aspect on learning and teaching process and evaluation and assessment but highest level on teaching aids and moderate level on curriculum and its implementation. No statistical differences were found in perceptions of teachers with different ages, educationalbackground, and teaching experiences on the overall and each aspect of states of learning and teaching Islamic studies. In addition, there were no statistical differences in opinions of students with different sexes, and Islamic educational background on the overall and each aspect of states of learning and teaching Islamic studies with the exception of students with different academic educational background which was found to be statistical different at the level of 0.05 with respect to problems and suggestions, it was discovered that the problems existed in all aspects; therefore, suggestions deemed appropriate for school improvement.

Keywords: Islamic Private Schools, learning and teaching Islamic studies, lower secondary

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ในด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และเพื่อเปรียบเทียบระดับสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลาม ศึกษาตามความเห็นของครูและนักเรียน ตลอดจนรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร โรงเรียน 7 คน ครู 63 คน และนักเรียน 340 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยายและอนุมาน ได้แก่ ค่าทีและค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า สภาพ การดำเนินการเรียนการสอนอิสลามอิสลามศึกษาตามความเห็นของครูทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพการดำเนินการเรียนการสอนตามความเห็นของนักเรียนทั้งภาพรวมและด้านการจัดการเรียนการสอนและ การวัดและประเมินผลอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ด้านสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูงสุด และด้านหลักสูตรและการนำ หลักสูตรไปใช้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการเปรียบเทียบ พบว่า สภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ในภาพรวมและรายด้านตามความเห็นของครูที่มีอายุ และประสบการณ์การสอนแตกต่างกันไม่แตกต่างกัน ส่วนสภาพ การดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในภาพรวมและรายด้านตามความเห็นของนักเรียนที่มีเพศและการศึกษา ศาสนาต่างกันไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 สำหรับปัญหาและแนวทางแก้ไข พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษายังมีปรากฏ อยู่ในทุกด้านๆ ข้อเสนอที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนได้ คำสำคัญ: การเรียนการสอนอิสลามศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

คำสำคัญ: การพึ่งตนเอง, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทับลาน, พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม, วิสาหกิจชุมชน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน,

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=706