บุญพรหม, ., & Boonprome, <. (2010, April 30). การประเมินประสิทธิผลกลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกเสียง
ภาษาฝรั่งเศส

Evaluation of the Effectiveness of Phonetic Correcting Strategies for the Improvement of French Pronunciation Ability by Thai Students: Prosodies, Vocalic Sounds and Consonant Sounds. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(6). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=705.

การประเมินประสิทธิผลกลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกเสียง
ภาษาฝรั่งเศส

Evaluation of the Effectiveness of Phonetic Correcting Strategies for the Improvement of French Pronunciation Ability by Thai Students: Prosodies, Vocalic Sounds and Consonant Sounds

จิรประภา บุญพรหม, สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Jiraprabha Boonprome, Department of Western Languages, Faculty of Humanities, Chiang Mai University

Abstract

The objective of this research was to evaluate the effectiveness of phonetic correcting strategies for the improvement of French pronunciation ability by Thai students: prosodies, vocalic sounds and consonant sounds. It is an experimental research called One Group Pretest-Posttest Design (OXO) using the contents of course 002110 on French Pronunciation for X-treatment and tests before and after the application of X-treatment on those 3 abilities for O-observation. The t-test was applied for data analysis. The experiment was held with a group of 42 Humanities first year students majoring in French and enrolled in course 002110 on French pronunciation during the first semester of the academic year 2007. It was found that the use of 5 phonetic correcting strategies in the teaching of French pronunciation to the experimental group had an important effect on the correction of prosodies pronunciation, vowels pronunciation, consonants pronunciation and out loud reading abilities in French. Posttest scores of the experimental group were significantly higher than pretest scores at 0.05 level. It means that the results of this experiment responded to every objective and hypothesis of the research. The findings revealed that the phonetic correcting strategies used in this experimental research were considerably effective.

Keywords: consonant sounds, French pronounciation, phonetic correcting strategies, prosodies, vocalic sounds

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลกลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้เพื่อพัฒนาความสามารถในการ ออกเสียงภาษาฝรั่งเศสของนักศึกษาไทย ด้านสัทสัมพันธ์ เสียงสระ และเสียง พยัญชนะ การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) โดยใช้แบบทดลองกับผู้เข้าร่วมการทดลอง กลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest Design - OXO) นี้ กำหนดให้หลักสูตรกระบวนวิชา 002110 การออกเสียงภาษาฝรั่งเศส เป็นตัวแปรต้น (X-treatment) และแบบทดสอบวัดทักษะการออกเสียงทั้งก่อนและหลังการรับตัวแปรต้นทั้ง 3 ด้านดังกล่าวเป็นตัวแปรตาม (O-observation) การทดลองใช้กับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชา 002110 การออกเสียงภาษาฝรั่งเศส ตลอดภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รหัส 50 จำนวน รวมทั้งสิ้น 42 คน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้แบบผสมผสาน 5 กลยุทธ์ที่ใช้ในการสอนการออกเสียง ภาษาฝรั่งเศสให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมการทดลอง เพื่อแก้ปัญหาที่ได้วิเคราะห์แล้วว่าเป็นระบบปัญหาในการออกเสียง ของผู้เรียนชาวไทยนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการแก้การออกเสียงสัทสัมพันธ์ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และต่อทักษะ โดยรวมในการอ่านออกเสียงภาษาฝรั่งเศส โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมของแบบทดสอบทุกชุดหลังการใช้กลยุทธ์ สูงกว่า ก่อนการใช้กลยุทธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลสำเร็จของการทดลองนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์และ สมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ทุกประการ สรุปได้ว่ากลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้ที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีประสิทธิผล เป็นที่น่าพอใจ

คำสำคัญ: กลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้, การออกเสียงภาษาฝรั่งเศส, สัทสัมพันธ์, เสียงพยัญชนะ, เสียงสระ

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=705