M.R. Kalaya Tingsabadh, R., & , ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์, <. (2010, February 8). Tonal Borderline between Central Thai and Southern Thai: Variation by Age Group
แนวแบ่งเขตด้านวรรณยุกต์ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้: การแปรตามรุ่นอายุ. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(5). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=676.

Tonal Borderline between Central Thai and Southern Thai: Variation by Age Group
แนวแบ่งเขตด้านวรรณยุกต์ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้: การแปรตามรุ่นอายุ

Ruangsuk Kongthong, M.R. Kalaya Tingsabadh, Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

เรืองสุข คงทอง , ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์, ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

Central Thai and Southern Thai are spoken in adjoining areas along the peninsula of Southern Thailand. The two dialects differ both in their patterns of tone splits and merges and tonal characteristics. This study aims at investigating such variation to locate the tonal borderline between the two dialects. The study area covers 15 Amphoe from Changwat Prachuap Khiri Khan to Changwat Chumphon and Changwat Ranong - one location per Amphoe. Five speakers in each age group - over 50 years old and 10-20 years old - were interviewed at each location. The wordlist consists of 10 tokens of 15 monosyllabic words. Acoustic analysis was carried out on 5 tokens of each word. Results show that, on the basis of the patterns of tone splits and merges, three varieties are spoken in this area: Central Thai, Central-Southern Thai, and Southern-Central Thai. On the basis of this criterion, the borderlines among the varieties are located and the results of the two age groups are found to be close together. When the tonal characteristics in these varieties are considered, both Central-Southern Thai and Southern-Central Thai are shown to be very similar to Southern Thai. Consequently it is proposed that the borderline between Central Thai and Central-Southern Thai should be regarded as the main borderline between Central Thai and Southern Thai.

Keywords: age group, Central Thai, dialect borderline, Southern Thai, tone, variety, variation

บทคัดย่อ
ภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ใช้พูดในพื้นที่ที่ติดต่อกันบริเวณคาบสมุทรทางตอนใต้ของประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นทั้งสองแตกต่างกันทั้งในแง่ของรูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการแปรดังกล่าวเพื่อหาแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นทั้งสองนี้ พื้นที่ที่ศึกษาครอบคลุม 15 อำเภอบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยเลือกจุดเก็บข้อมูล 1 จุดเป็น ตัวแทนของแต่ละอำเภอ ผู้บอกภาษาที่ให้ข้อมูลในแต่ละจุดเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 รุ่นอายุ: สูงกว่า 50 ปี และ 10-20 ปี รุ่นอายุละ 5 คน รายการคำที่ใช้ทดสอบการออกเสียงเป็นคำพยางค์เดียว จำนวน 15 คำ ในการวิเคราะห์ใช้วิธีการ ทางกลสัทศาสตร์ โดยเลือกการออกเสียงแต่ละคำมา 5 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์ ปรากฏวิธภาษา 3 ภาษาในพื้นที่ที่ศึกษา: ภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นกลาง-ใต้ และภาษาไทยถิ่นใต้-กลาง เมื่อพิจารณาสัทลักษณะของวรรณยุกต์ของผู้บอกภาษาทั้งสองรุ่นอายุ พบว่าวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นกลาง-ใต้ และภาษาไทยถิ่นใต้-กลางคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นใต้มาก งานวิจัยนี้จึงเสนอว่าแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทย ถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นกลาง-ใต้น่าจะเป็นแนวแบ่งเขตหลักระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้

คำสำคัญ: การแปร, แนวแบ่งเขตระหว่างภาษาถิ่น, ภาษาไทยถิ่นกลาง, ภาษาไทยถิ่นใต้, รุ่นอายุวรรณยุกต์, วิธภาษา

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=676