รุธิรโก, ., & Ruthirago, <. (2009, October 4). ศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ :กรณีศึกษาหมู่ที่ 3, 4 และ 5 ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา
Potentiality of Community in Ecotourism Management : A Case Study of Moo 3, 4 and 5 Tambon Kukud, Amphoe Satingpra, Songkhla Province. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=650.

ศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ :กรณีศึกษาหมู่ที่ 3, 4 และ 5 ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา
Potentiality of Community in Ecotourism Management : A Case Study of Moo 3, 4 and 5 Tambon Kukud, Amphoe Satingpra, Songkhla Province

ตรีรัตน์ รุธิรโก, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Threerat Ruthirago, Department of Science and Mathematic, Faculty of Science and Technology,Hatyai U

Abstract

The main objective of this research work is to study the potentiality of the community, Moo 3,4 and 5 in Tambon Kukud, Amphoe Satingpra, Songkhla province in managing ecotourism. A set of questionnaires was given to a sample of 370 in the area. Statistical analysis was carried out using computer program, which yielded results as percentage, standard deviation, t-test, F-test, and Dunnett’s test. The result reveals that the communities is aware of the significance of their natural resources and environment, and the value of ecotourism. However, the participation in ecotourism management was low. To be specific, samples with variation in sex; age; level of education; domicile period and land holding, did not show any differences in understanding the natural resources, environment and ecotourism at the level of 0.05 significance. The same group of samples varied on involvement of ecotourism management at the level of 0.001 significance. Those samples who previously held post in local administration showed no discrepancy in understanding and managing ecotourism. Furthermore, those samples with variation in profession differed in apprehension and involvement in ecotourism at the level of 0.001 significance.

Keywords: ecotourism management, knowledge and insights of managing ecotourism, potential

บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาศักยภาพของชุมชน หมู่ที่ 3 ,4 และ 5 ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในการ จัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวบ้าน จำนวน 370 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การ วิเคราะห์รายคู่โดยริธีการของ Dunnett ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีศักยภาพในด้านความรู้ความเข้าใจด้านทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และด้านความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับสูง แต่มีส่วนร่วม ในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ และการมีที่ดินถือครองในพื้นที่ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความรู้ความ เข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ การมีที่ดินถือครองในพื้นที่ และการดำรงตำแหน่งในการบริหาร ส่วนท้องถิ่นในอดีต ต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 สำหรับกลุ่มตัวอย่าง ที่มีการดำรงตำแหน่งในการบริหารส่วนท้องถิ่นในอดีต พบว่า มีความรู้ความเข้าใจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความรู้ความ เข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกันนั้น พบว่า มี ส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.001

คำสำคัญ: การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ศักยภาพ

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=650