เดชพลากูล, ., จิตต์จำนงค์, ., & ตันสูงเนิน, . (1970, January 1). การวิเคราะห์เรื่องสั้นของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 9(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=64.

การวิเคราะห์เรื่องสั้นของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ตุลา เดชพลากูล, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดวงมน จิตต์จำนงค์, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จรูญ ตันสูงเนิน, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ผลงานรวมเรื่องสั้นของ เสกสรร ประเสริฐกุล 3 เล่ม คือ ฤดูกาล ดอกไผ่ และคนกับเสือ ในด้านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธุ์ อันเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้แต่ง และบริบททางการประพันธ์ ผลการศึกษาปรากฏว่า ผลงานรวมเรื่องสั้นทั้งสามเล่มบ่งบอกคุณค่าซึ่งสร้างสมประสบการณ์การต่อสู้และการค้นหาความหมายในชีวิตของผู้แต่ง และปฏิกิริยาต่อปัญหาสังคมในบริบทของการประพันธ์ในช่วง 3 ทศวรรษ คือ ตั้งแต่ 2516-2539 คุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ผู้แต่งแฝงไว้ในตัวบทมีความสัมพันธ์กับปัญหาซึ่งรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นทุกขณะ แต่ศักยภาพของตัวเอกในการเรียนรู้และธำรงคุณธรรมภายใต้ข้อจำกัดของชีวิตก็ยังน่าชื่นชม ผู้แต่งได้นำเสนอทั้งปัญหาและคุณค่าของมนุษย์อย่างเอาจริงเอาจัง ในแง่ปัญหา เขายังยืนยันว่าความไม่เป็นธรรมทางสังคม ระบบสังคม และค่านิยมที่ไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งความอ่อนแอภายในของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญของความทุกข์และการกระทำอันเลวร้ายต่อกันในสังคมปัจจุบัน ในขณะที่การยึดถือในคุณค่าสำคัญเป็นทางออกของปัญหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาความเป็นอิสระทางจิตวิญญาณ ในด้านกลวิธีการประพันธ์ ผู้แต่งใช้องค์ประกอบของเรื่องสั้นให้เป็นประโยชน์ในการสื่อความหมายที่กระตุ้นการเพ่งพินิจของผู้อ่านอย่างประสานกลมกลืนกับเนื้อหา สำนวนภาษาอันขัดเกลาอย่างประณีตก็สื่อความเข้มข้นและซับซ้อนทางความคิดและอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกล่าวได้ว่า คุณค่าสำคัญในเรื่องสั้นของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คือ ความประสานกันของคุณค่าทางสุนทรียะกับคุณค่าทางจริยธรรมอย่างกลมกลืนและเป็นเอกภาพ

คำสำคัญ : คุณค่า, เรื่องสั้น

Abstract
This research aims to analyze Seksan Prasertkun’s collected short stories Rudukan, Dok Phai, and Khon Kap Sua, in terms of their contents and literary techniques, which relate to the author’s experiences and literary contexts. It is found that the three literary works mirror human values, derived from the author’s political experiences and search for the meaning of life, as well as his reaction to social problems during the past three decades (1973-1996). The values of humanity implicitly depicted in the texts are closely associated with social problems, which are getting more and more severe and complicated, however, the protagonists’ potentials for learning and upholding virtues within the constraints of life are still to be admired. Human problems and their virtues are earnestly presented. The author asserts that social injustice, abused social system, unconstructive values as well as human flaws are crucial factors begetting misery and malice in the contemporary society; the mere solution seems to lie in the adherence to certain principal values, particularly the search for spiritual freedom. With respect to literary techniques, short story’s components in harmony with its content are skillfully manipulated to convey messages that invoke the readers to ponder. Intensity and complexity of ideas and emotions are effectively conveyed through judiciously and carefully wrought language. It can be said that the remarkable value of Seksan Prasertkun’s collected short stories lies in the harmony and unity of their aesthetic and ethic values.

Keywords : short story, values

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=64