สืบวิเศษ, ., & Suebvises, <. (2009, July 27). การเสริมอำนาจคนพิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต: การวิจัยเชิงคุณภาพกรณีศึกษาของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการสองแห่ง
Empowering People with Disabilities for Quality of Life Improvement: A Qualitative Study on Two Vocational Rehabilitation Training Centers. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=628.

การเสริมอำนาจคนพิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต: การวิจัยเชิงคุณภาพกรณีศึกษาของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการสองแห่ง
Empowering People with Disabilities for Quality of Life Improvement: A Qualitative Study on Two Vocational Rehabilitation Training Centers

พลอย สืบวิเศษ, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Ploy Suebvises, School of Public Administration National Institute of Development Administration

Abstract

Vocational rehabilitation is one measure to support people with disabilities. By being employed, they can improve their quality of life, live independently from their families, and contribute to society. According to many research works, empowerment is assumed to have a direct relationship with increasing quality of life. The research on which this article is based aimed at providing the first qualitative exploration in Thailand of the connection between vocational rehabilitation, empowerment, and quality of life. Two vocational rehabilitation training centers, one public and one private, were studied. This article presents that part of the research, which used a western conceptual framework for evaluating the courses offered by these training centers in order to assess in how far they supported the empowerment of people with disabilities. It was found that the vocational training services did not seem to be very supportive of empowerment. Rather, the centers provided more charitybased services containing disempowering elements. Interestingly, graduates from these courses did feel that they were empowered. While Thai vocational rehabilitation training perhaps does not produce western-style empowered service consumers, it does tend to increase the quality of life of people with disabilities. Yet, it could improve further if such services adopted a more empowering approach in their course offerings.

Keywords: consumer - directed service, empowerment, people with disabilities, quality of life, rehabilitation training

บทคัดย่อ
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เป็นแนวทางสำคัญแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้คนพิการได้ใช้ศักยภาพเพื่อช่วย เหลือตนเองและสังคม สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยการทำงาน และมีวิถีชีวิตอิสระไม่เป็นภาระให้ ครอบครัวและสังคม เพราะฉะนั้นแนวคิดเรื่องการเสริมอำนาจให้คนพิการ จึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการส่งเสริม คุณภาพชีวิต เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาที่เชื่อมโยงเรื่องการเสริมอำนาจและคุณภาพชีวิตเข้ากับ การฝึกอาชีพของคนพิการในเชิงคุณภาพ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการวิจัยแบบบุกเบิก ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การให้บริการฝึกอาชีพ กับการเสริมอำนาจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้กรณีศึกษาสองกรณีคือ ศึกษา การดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพของรัฐและของเอกชน บทความนี้ จะนำเสนอในส่วนของการใช้กรอบความคิดของ ตะวันตก มาประเมินการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้งสองแห่ง ว่าช่วยส่งเสริมการเสริมอำนาจและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ คนพิการหรือไม่ ผลจากการวิจัย พบว่า ทั้งสองศูนย์ฯ ดำเนินการฝึกอาชีพที่ไม่เสริมอำนาจมากเท่าใดนักตามมาตรฐาน โลกตะวันตก และการฝึกอาชีพด้วยวิถีทางแบบไทยนั้น เป็นการฝึกอาชีพเชิงการกุศล ซึ่งแตกต่างจากการให้บริการ ของโลกตะวันตก แต่ท้ายที่สุด เมื่อจบการฝึกอาชีพแล้ว คนพิการรู้สึกว่าได้รับการเสริมอำนาจ และมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น จึงกล่าวได้ว่า การดำเนินการฝึกอาชีพตามบริบทของไทย ก็ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและเสริมอำนาจได้เช่นเดียวกัน แต่จะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงาน ให้เกิดกลไกในการเสริมอำนาจคนพิการให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

คำสำคัญ: การฝึกอาชีพคนพิการ, การเสริมอำนาจ, การให้บริการที่ผู้ใช้บริการกำหนดทิศทางการบริการ, คนพิการ, คุณภาพชีวิต

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=628