ทองคำ, ., เพ็งเหมือน, ., ทองแท้, ., ดำชะอม, ., Thongkum, <., Pengmuan, S., Tongtae, P., & Damcha-om, M. (2009, January 31). รูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดปัตตานี
A Model to Improve Quality of Life for Female Labor in Pattani Seafood Industry. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 14(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=580.

รูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดปัตตานี
A Model to Improve Quality of Life for Female Labor in Pattani Seafood Industry

ปราณี ทองคำ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
สนั่น เพ็งเหมือน, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
เพ็ญพักตร์ ทองแท้, ภาควิชาสังคมศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
มารุต ดำชะอม, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Pranee Thongkum, Department of Education, Faculty of Education Prince of Songkla University
Sanan Pengmuan, Department of Education, Faculty of Education Prince of Songkla University
Penpak Tongtae, Department of Social science, Faculty of Humanities and Social Sciences Prince o
Marut Damcha-om, Department of Education, Faculty of Education Prince of Songkla University

Abstract

This participatory action research aimed at developing a model to improve the quality of life for female labor in Pattani seafood industry. The samples were 46 female labors. The major principles in the improvement process were as follow: 1) the female labor formed small operational groups with interactions within each group and between groups; 2) the multi-lateral development unit worked as an integrated task force; 3) the encouragement for the female labor’s participation was carried out through various techniques based on the culture and contexts of their communities. The development of such a model to improve the quality of life helped educate the female labor, their communities, and all the related people. As a result, the female labor could improve their quality of life in 3 aspects: economic aspect - the female labor had supplementary occupations, decreased household expenses, learned budget planning, and lived according to the principles of sufficient economy; social aspect - they learned to improve family relationships, formed interest groups, understood their rights of social insurer, and persistent on self-development; health aspect - they changed their methods of health care for themselves and family members regarding to nutrition, exercises, and stress relief. The factors contributing to participation in the project were : 1) the components of the research team; 2) participatory learning process; 3) morale support. The unfavorable factors were: the insurgencies in the areas; the government’ s activities for community development to speed up the budget spending; and the female labor’s time constraint.

Keywords: female labor, learning process, quality of life

บทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงาน สตรีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล จำนวน 46 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดปัตตานี มีหลักการที่สำคัญ คือ 1) การรวมกลุ่มของแรงงานสตรีในการดำเนินงานเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประสาน เชื่อมโยงกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม 2) ภาคีการพัฒนาทำงานรวมกันแบบบูรณาการ 3) การสร้างเสริมการมีส่วนร่วม ของแรงงานสตรีใช้เทคนิคที่หลากหลายบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและบริบทของชุมชน การดำเนินการดังกล่าวสามารถ เสริมสร้างการเรียนรู้แก่แรงงานสตรี ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและส่งผลให้แรงงานสตรีมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ แรงงานสตรีมีอาชีพเสริม รู้จักวางแผนเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว และใช้หลักเศรษฐกิจ พอเพียงในการดำเนินชีวิต ด้านสังคม แรงงานสตรีมีการพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว มีการรวมกลุ่ม มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิทธิของผู้ประกันตน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง และด้านสุขภาพ แรงงานสตรีได้ปรับเปลี่ยน การดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การลดความเครียด ปัจจัยเอื้อ ในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ ได้แก่ องค์ประกอบของทีมวิจัย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการสนับสนุน ด้านขวัญและกำลังใจอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคได้แก่ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ กิจกรรมพัฒนา ชุมชนของภาครัฐที่เร่งรัดการใช้งบประมาณ และข้อจำกัดด้านเวลาของแรงงานสตรี


คำสำคัญ: กระบวนการเรียนรู้, คุณภาพชีวิต, แรงงานสตรี

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=580