ทุ่งหว้า, ., วัฒนสิทธิ์, ., พัดแดง, ., Thungwa, <., Watanasit, S., & Paddaeng, C. (2008, October 16). การตัดสินใจต่อระบบการทำการเกษตรของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและไม่เลี้ยงโคนม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Decision Making on Farming Systems by Dairy and Non-Dairy Smallholders in Muang District, Phatthalung Province. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 14(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=568.

การตัดสินใจต่อระบบการทำการเกษตรของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและไม่เลี้ยงโคนม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Decision Making on Farming Systems by Dairy and Non-Dairy Smallholders in Muang District, Phatthalung Province

ศิริจิต ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุธา วัฒนสิทธิ์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชัชวาล พัดแดง, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Sirijit Thungwa, Department of Agriculture Development, Prince of Songkla University
Suta Watanasit, Department of Animal Science,Prince of Songkla University
Chatchawan Paddaeng, Bank for Agriculture and Agricultural Coopperatives

Abstract

The objectives of this study were to investigate, compare and find correlation of the bio-physiological, socio-economical and psychological factors affecting decision making on farming systems by dairy and nondairy smallholders in Muang district, Phatthalung province. Quantitative data were collected using interviews with the 153 randomly selected agriculturist families- 56 families that did dairy farming and 97 families that did not do dairy farming. Comparison of quantitative results shows that the bio-physiological, socio-economical factors that were found to be highly significantly different (P ≤.01) between the two groups were the amount of land agricultured, rented or mortgaged land for agriculture, net income from agriculture, family gross income, family expenses, the profit margins, agricultural labour units, labour productivity, debt amount, information processing by government officials, information from neighbours, publications and group activities. The significant differences of (P ≤.05) include size of landholding, family leader’s age and education level, and agricultural labours in the family. The psychological factors found to be highly significantly different (P ≤.01) between the two groups were knowledge and understanding in dairy farming, incentives and farmers’ readiness as personal factors that support dairy farming, and governmental support given in dairy farming. The statistical variance of getting information from media among agriculturists of both of the groups shows no difference. In correlation analysis, it was found that age, education level, and information from media had no correlation with the decision making on farming systems by dairy and non-dairy smallhollders. Another variables had a significant positive correlation with the decision making on farming systems by dairy and non-dairy smallholders.

Keywords: dairy and non-dairy smallholders, decision making, farming systems, Phatthalung province

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านกายภาพชีวภาพ เศรษฐกิจสังคม และด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับ ความคิดเห็นต่อการเลี้ยงโคนม และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆและหาความสัมพันธ์การตัดสินใจ กับระบบการทำการเกษตรของผู้เลี้ยงโคนมและไม่เลี้ยงโคนม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 153 ครัวเรือน แบ่งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม 56 ครัวเรือน และกลุ่มผู้ไม่เลี้ยงโคนม 97 ครัวเรือน ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านกายภาพชีวภาพ และ เศรษฐกิจสังคม พบว่า ตัวแปรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P ≤.01) ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตร ทั้งหมด พื้นที่เช่าหรือรับจำนองเพื่อการเกษตร รายได้สุทธิจากการเกษตร รายได้รวมในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้เหนือรายจ่าย หน่วยแรงงานทำการเกษตร ผลิตภาพแรงงาน จำนวนหนี้สิน การได้รับข่าวสารความรู้จากเจ้าหน้าที่ การได้รับข่าวสารความรู้จากเพื่อนบ้าน การได้รับข่าวสารความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ และการได้รับข่าวสารความรู้ จากกิจกรรมกลุ่ม ส่วนตัวแปรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤.05) ได้แก่ พื้นที่ถือครอง อายุ ระดับ การศึกษา และจำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือน สำหรับปัจจัยด้านความคิดเห็นต่อการเลี้ยงโคนม ทั้งตัวแปรด้าน ความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงโคนม ด้านสิ่งจูงใจและความพร้อมของเกษตรกร และด้านวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P ≤.01) โดยมีเพียงตัวแปรการได้รับข่าวสารความรู้จากสื่อมวลชน ที่ทั้งสองกลุ่มให้ความคิดเห็นแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ พบว่า ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และการได้รับข่าวสารความรู้การเกษตรจาก สื่อมวลชน นอกนั้นทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจระบบการทำการเกษตรของผู้เลี้ยงโคนมและ ไม่เลี้ยงโคนม

คำสำคัญ: การตัดสินใจ, ระบบการทำการเกษตร, ผู้เลี้ยงโคนม, ผู้ไม่เลี้ยงโคนม, พัทลุง

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=568