ศรีสัจจัง, . (2004, September 1). ความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สารเสพติด. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 9(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=56.

ความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สารเสพติด

อมรา ศรีสัจจัง, กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเสพติดและการใช้สารเสพติดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดของนักศึกษาและมาตรการป้องกันปัญหาสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยรองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาจำนวน 7 คน และนักศึกษาทุกคณะทุกชั้นปี โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้นักศึกษาชาย 236 คน และนักศึกษาหญิง 317 คน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาร้อยละ 43.8 เคยใช้สารเสพติด สารเสพติดที่ใช้คือ เหล้า/เบียร์ (ร้อยละ 57.4) บุหรี่ (ร้อยละ 36.0) และกัญชา (ร้อยละ 0.8) ร้อยละ 60.8 ของนักศึกษาเหล่านี้เคยลองเสพสารเสพติดในขณะเป็นนักเรียนในระดับมัธยาศึกษา ส่วนใหญ่เพราะอยากลอง นักศึกษาหญิงร้อยละ 78.7 ดื่มเหล้า/เบียร์ และร้อยละ 19.1 สูบบุหรี่ นักศึกษาชายร้อยละ 51.5 สูบบุหรี่ และร้อยละ 48.5 ดื่มเหล้า/เบียร์ การเช่าบ้านพักรวมกันของนักศึกษาชายเอื้อต่อการเสพสารเสพติด (ร้อยละ 86.5) ในขณะที่นักศึกษาหญิงที่เคยลองเสพสารเสพติดพักอาศัยบ้านญาติหรือบ้านเพื่อน (ร้อยละ 86.7) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักศึกษาเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ บุคลิกภาพชอบท้าทาย การเสพสารเสพติดของเพื่อน ทัศนคติต่อสารเสพติดและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเสพติด เพื่อน ครู/อาจารย์และพ่อแม่ เป็นปัจจัยที่จะช่วยป้องกันปัญหาสารเสพติดได้

คำสำคัญ : การใช้สารเสพติด, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ยาเสพติด,สารเสพติด

Abstract
This research was intended to study drug abuse of the students at Prince of Songkla University Hat Yai campus, to identify factors related to such abuse, and to find possible measures for drug abuse prevention. The samples consisted of 7 associate/assistant deans for student affairs and students of all years and faculties; through stratified random sampling, 236 male students and 317 female students were selected. It was found that 43.8% of the students had fried drugs : liquor/beer (57.4%) cigarettes (36.0%) and marijuana (0.8%). 60.8% of these students, out of curiosity, were exposed to drugs when they were in a secondary school. 78.7% of female students drank liquor/beer and 19.1% smoked cigarettes while 51.5% of male students smoked cigarettes and 48.5% drank liquor/beer, Renting a house with friends was conducive to drug abuse of male students (86.5%) whereas 86.7% of female students having tried drugs stayed in the houses of their relatives or friends. The factors affecting the students’ drug abuse were prioritized as follows : sensation-seeking personality, peers’ drug abuse, attitude toward drugs, and knowledge and understanding of drugs. Peers, teachers and parents are believed to be able to help prevent the problem of drug abuse.

Keywords : drugs, drug abuse, Prince of Songkla University, students

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=56