วัฒนศัพท์, ., & Vatanasapt, <. (2008, June 25). ประชาเสวนา: กระบวนการสู่ทางออกในปัญหาความรุนแรงของภาคใต้
Citizens Dialogue: The Way Out of the Southern Thailand Violence . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 14(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=502.

ประชาเสวนา: กระบวนการสู่ทางออกในปัญหาความรุนแรงของภาคใต้
Citizens Dialogue: The Way Out of the Southern Thailand Violence

วันชัย วัฒนศัพท์, สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

Vanchai Vatanasapt, The Office of Peace and Governance, King Prajadhipok's Institute

Abstract

The issue of conflict in southernmost provinces of Thailand is a chronic problem that several governments have attempted to resolve. Academics, politicians and military leaders have expressed their opinions on ways to resolution, but day after day, acts of violence still occur. From research and document analysis done by the King Pradjadhipok Institute, and from experiences in exchanging ideas through either deliberative dialogue or citizens dialogue, done by listening intently to every side and every opinion, we have summarized the following: the conflict in southern Thailand stems from the desire of the ethnic Malay-Pattani people to preserve their unique language, religion and culture which they share. There is evidence of, and an expressed desire for separatism, but it is probably not the view of the vast majority of those in the region. The state must understand that Game Theory will probably have a part in creating a united front and trust building measures. The life of every citizen whether Buddhist or Muslim which become the capital cost of the game theory need to be reduced effectively. The process of deliberative discussion or citizens dialogue in the region creates true participation, gives people an opportunity to look after their own lives and property, and gives the people a chance to have a role in building peace. Most importantly, the state must listen attentively with empathy not sympathy to create trust and repair relationships between the state and the people by revealing the truth. The state must create justice with compassion through both legal means and social justice. There will never be peace unless that peace is founded on justice.

Keywords: citizens dialogue, game theory, peace, King Pradjadhipok’s Institute, southernmost provinces

บทคัดย่อ
ปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาเรื้อรังที่หลายรัฐบาลพยายามแก้ปัญหา นักวิชาการและนักการเมือง นักการทหารมากมายได้แสดงความคิดเห็นถึงทางออก หรือแนวทางแก้ปัญหา แต่จนแล้วจนรอดก็ยังเกิดเหตุการณ์ของความรุนแรงรายวัน จากการวิเคราะห์ทั้งจากเอกสาร จากงานวิจัย ทั้งโดยสถาบัน พระปกเกล้าเอง และจากประสบการณ์ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อาศัยกระบวนการสานเสวนาหาทางออก หรือประชาเสวนา คือการฟังอย่างตั้งใจจากทุก ๆ ฝ่าย พบข้อสรุปว่า ปัญหาภาคใต้เป็นประเด็นที่ผสมผสานของชาติพันธุ์ของพี่น้องชาวมลายูปาตานีที่ประสงค์จะรักษาอัตลักษณ์ทั้งภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่ผูกพันมาแต่ดั้งเดิม ความคิดแบ่งแยกดินแดนนั้นยังมีความคิดและหลักฐานแน่นอน แต่ไม่น่าจะเป็นแนวคิดของคนส่วนใหญ่ ทฤษฎีเกมน่าจะมีส่วนทำให้เกิดแนวร่วม ซึ่งรัฐจะต้องเข้าใจและสร้างมาตรการแห่งการลดต้นทุนคือ ชีวิตของประชาชนไม่ว่าพุทธหรือมุสลิม กระบวนการสานเสวนาหาทางออก หรือประชาเสวนากับประชาชนในท้องถิ่น โดยการฟังอย่างเข้าใจที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ให้โอกาสคนในท้องถิ่นดูแลชีวิตและทรัพย์สินของเขาเองมากขึ้น เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในการสร้างสันติภาพ และสิ่งสำคัญที่สุดก่อนสิ่งอื่นใด คือจะต้องสร้างความไว้วางใจ ฟื้นความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น โดยทำความจริงให้ปรากฏ ใช้ ความกรุณานำ จัดการให้เกิดความยุติธรรมทั้งทางกฏหมายและยุติธรรมทางสังคม สันติภาพจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าสันติภาพนั้นไม่ได้ยืนอยู่บนความยุติธรรม หรือ Just Peace

คำสำคัญ: จังหวัดชายแดนภาคใต้, ทฤษฎีเกม, ประชาเสวนา, สถาบันพระปกเกล้าสัน, สันติภาพ

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=502