วุฒิจันทร์, ., ตันสูงเนิน, ., มีเนียม, ., Wuthijan, <., Tansungnern, J., & Menium, M. (2007, December 20). วิเคราะห์นวนิยายของนักเขียนสตรีไทยที่มีตัวละครเอกเป็นโสเภณี
Analysis of Protagonists as Prostitutes in Novels ofThai Wemen Authors. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 13(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=455.

วิเคราะห์นวนิยายของนักเขียนสตรีไทยที่มีตัวละครเอกเป็นโสเภณี
Analysis of Protagonists as Prostitutes in Novels ofThai Wemen Authors

สมปราชญ์ วุฒิจันทร์, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จรูญ ตันสูงเนิน, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มนตรี มีเนียม, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Somprat Wuthijan, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences,
Jaroon Tansungnern, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences,
Montri Menium, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences,

Abstract

This research was conducted to explore the 4 novels of female authors, whose protagonists were prostitutes, namely Ying Khon Chua by K.SurangKhanang, first published before the Second World War, Roy Montin by Thommayantee, Luam Salab Lai and Long Fai by Krissana Asoksin, published after the Second World War. The research found that the social contexts both before and after the Second World War until the present time had played an important role in determing background, status, and role of protogonists. However, what remained unchangeable were negative social attitudes toward prostitutes since women’s virginity was crucial and only for a man to marry traditionally. The status of prostitutes was lower than that of normal women in accordance with social standard. Nevertheless, the three novelists viewed this differently by demonstrating the hidden beauty of which was rarely realized by the society, even a weak-morality protagonist was illustrated in terms of misleading not wickedness. The selected novels also showed literary impacts, theme, narration, determination of characters’ characteristics and behaviors, integrated dialogue and setting. Compared to other stories composed in different periods, these pieces of work displayed development in techniques, allowing more understanding in the characters. I n addition, the 4 novels were full of moral values stimulating the necessity of conscience and judgment together with mental strength reflected .via the prostitute protagonists’ struggle with conflicts and their power in encountering problems with hopes for better life. Other characters’ sympathy for the protagonists revealed the authors’ expectation in virtue which prolonged human relationship.

Keyword: social context, value of literature, writer’s point of view

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษานวนิยาย 4 เรื่องของนักเขียนสตรีไทยที่มีตัวละครเอกเป็นโสเภณีซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ รอยมลทิน ของ ทมยันตี เลื่อมสลับลาย และหลงไฟ ของ กฤษณา อโศกสิน เนื่องจากบริบททางสังคมที่ เกี่ยวข้องกับโสเภณี ใน 2 ช่วงเวลามีข้อเปรียบเทียบเรื่องสภาวะเศรษฐกิจและค่านิยมทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด ผลการศึกษาชี้ว่าบริบทของสังคมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันมี ส่วนสำคัญในการกำหนดภูมิหลัง สถานภาพ และบทบาทของตัวละครโสเภณี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่เคย เปลี่ยนแปลง คือ ทัศนคติในด้านลบของสังคมที่มีต่อโสเภณี ทั้งนี้เพราะให้ความสำคัญกับการรักษาพรหมจารีของ ผู้หญิงที่ต้องสงวนไว้ให้ผู้ชายที่จะแต่งงานกันตามประเพณีมีสถานะที่ต่ำกว่าหญิงดีในบรรทัดฐานทางสังคม แต่ นักประพันธ์ทั้ง 3 คนกลับมีทัศนะในทางตรงกันข้าม โดยได้นำชีวิตในแง่มุมหนึ่งที่คนทั่วไปในสังคมมักไม่คำนึงว่า มีความงดงามแฝงอยู่ หรือแม้แต่ตัวละครเอกที่มีความบกพร่องทางจริยธรรม ผู้แต่งก็สามารถแสดงว่าเกิดขึ้นด้วย ความหลงผิดไม่ใช่ความชั่วร้าย นวนิยายทั้ง 4 เรื่องยังมีปัจจัยของพลังทางวรรณศิลป์ ได้แก่ แก่นเรื่อง การเล่าเรื่อง การกำหนดลักษณะ นิสัยและพฤติกรรมตัวละคร บทสนทนา และฉาก ซึ่งมีบูรณภาพ เมื่อเปรียบเทียบงานที่มีความแตกต่างของ ช่วงเวลาจะเห็นว่ามีพัฒนาการทางกลวิธีที่ช่วยให้เข้าใจตัวละครมากขึ้น นอกจากนี้นวนิยายทั้ง 4 เรื่องยังมีคุณค่า ทางจริยธรรมที่กระตุ้นให้เห็นความจำเป็นของสติและวิจารณญาณ อีกทั้งความแข็งแกร่งทางจิตใจที่สะท้อนผ่าน การเผชิญกับความขัดแย้งของตัวละครโสเภณี ซึ่งแสดงผ่านการต่อสู้กับอุปสรรคและการเผชิญปัญหาอย่างเข้มแข็ง ด้วยความหวังที่ดีขึ้น ทั้u3591 ฅนี้ความเห็นใจของตัวละครเอกย่อมบ่งชี้คุณธรรมที่ผดุงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ใน ความคาดหวังของผู้แต่งด้วย

คำสำคัญ : คุณค่าทางวรรณศิลป์, ทัศนะของผู้แต่ง, บริบททางสังคม

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=455