ขอเสริมศรี, ., & Khosermsri, <. (2007, May 12). การจัดการต้นทุนธุรกิจสปา : กรณีศึกษา โรงแรม/รีสอร์ท สปา และ เดย์สปา ในภาคใต้
Cost Management of Spa Businesses: A Case Study of the Hotel & Resort Spa and the Day Spa in Southern Thailand.. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 13(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=410.

การจัดการต้นทุนธุรกิจสปา : กรณีศึกษา โรงแรม/รีสอร์ท สปา และ เดย์สปา ในภาคใต้
Cost Management of Spa Businesses: A Case Study of the Hotel & Resort Spa and the Day Spa in Southern Thailand.

สุดใจ ขอเสริมศรี, คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาตรัง

Sudjai Khosermsri, Faculty of Commerce & Management, Prince of Songkla University, Trang Campus.

Abstract

Abstract This research aimed to study spa cost management, the application of accounting data in spa management and customer service satisfaction for two types of spa in Southern Thailand: the Hotel and Resort Spa and the Day Spa. Data was collected via questionnaire and interview from spa owners, managers, accountants and customers in Phuket, Surat Thani, Phangnga, Krabi and Trang. Results indicated that the methods used in running Hotel & Resort Spas and Day Spas in Southern Thailand were similar in terms of cost management, calculation and accountancy record keeping. Information Technology systems were found to be strategically employed in both types of spas to ensure the rapid and precise flow of information for spa planning, control and decision-making. Service charges for both types of spa were found to correspond with service capital and ongoing costs, a function of Variable Costing. Accounting data was found to be objectively employed in both Hotel & Resort Spa and Day Spa businesses for budget management. In the Hotel & Resort Spas and Day Spas analyzed, service performance was evaluated by comparing the spažs cost and expense data to its revenue in order to assess profitability. Customer service satisfaction was found to be of a high level across the two types of spas (X= 3.13). Customers were most satisfied by the therapeutic benefits of the treatments, followed by the spa location, atmosphere, availability of herbal products, quality of therapists and value for money.

Keyword: cost management, spa business, hotel, resort spa, day spa

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการต้นทุน การใช้ข้อมูลบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหารจัดการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสปา ประเภท โรงแรม/รีสอร์ทสปา และเดย์สปา รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการ/ผู้จัดการ สมุห์บัญชี ของธุรกิจ และผู้ใช้บริการสปา ในจังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ และตรัง ผลการวิจัยพบว่า การจัดการต้นทุนของ โรงแรม/รีสอร์ทสปา และเดย์สปา มีวิธีการจัดการต้นทุนไม่แตกต่างกัน คือ การกำหนดส่วนประกอบต้นทุน การคำนวณ และบันทึกบัญชี และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลข่าวสาร ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว การกำหนดราคาค่าบริการ กำหนดจากต้นทุนการให้บริการ โดยคำนวณต้นทุนตามวิธีต้นทุนผันแปร โรงแรม/รีสอร์ทสปา และเดย์สปา มีการนำข้อมูลบัญชีต้นทุนมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อจัดทำงบประมาณต่างๆ และมีการวัดผลการปฏิบัติงานโดยนำข้อมูลต้นทุน ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับรายได้ เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร เป็นตัวเงิน ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการโดยรวม ในระดับมาก (X= 3.13) และมีความพึงพอใจสูงสุด คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการ รองลงมาคือ สถานที่ ผลิตภัณฑ์และสมุนไพรที่ใช้ พนักงานที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับราคาค่าบริการ

คำสำคัญ : การจัดการต้นทุน, ธุรกิจสปา

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=410