กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว., ., & Kalaya Tingsbadh, <. (2006, September 29). การแปรของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยตามถิ่นที่อยู่และอายุของผู้พูด
Lexical Variation in the Thai Dialect of Samui Island by Speakers' Area of Residence and Age. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 12(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=370.

การแปรของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยตามถิ่นที่อยู่และอายุของผู้พูด
Lexical Variation in the Thai Dialect of Samui Island by Speakers' Area of Residence and Age

ศิริรัตน์ ชูพันธ์, กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว., คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Sirirat Choophan, Kalaya Tingsbadh,

Abstract

This study aims at answering which sub-dialect the Thai dialect of Samui Island belongs to and to find out whether the Koh Samui dialect is a hybrid variety in a more general sense. The study also investigates lexical variation in the dialect of Samui Island by area of residence and age group. 140 informants were interviewed, 20 from each of the 7 tambons of Amphoe Koh Samui, informants belong to 2 age group. 10-20 years old and 60-70 years old. The researcher collected data on location at Amphoe Koh Samui, Suratthani using the interviewing technique. The questionnaire contains 200 semantic units. They belong to 4 groups - 50 semantic units per group. The semantics units in each group were selected with different objectives in mind : the first group - usage of the lexical items that are commonly used in all 4 main Thai dialects; the second group - usage of the lexical items that vary between western southern Thai and eastern southern Thai; the third group - usage of the lexical items that are commonly used in southern Thai; and the fourth group - usage of the lexical items that are used only in the Koh Samui dialect. The finding shows that both western southern Thai and eastern southern Thai lexical items occur in the Koh Samui dialect, The western southern Thai lexical items are more numerous than eastern southern Thai ones. The Koh Samui dialect is hybrid in a more general sense as it contains all of the following types of lexical items: those that are commonly used in all 4 main Thai dialects, those that are used in western southern Thai, those that are used in eastern southern Thai, those that are commonly used in southern Thai, those that are used only in the Koh Samui dialect, those that are used in standard Thai, and those that cannot be classified. The hybrid character of the Koh Samui dialect exists in all 7 tambons and in both age groups. The two age groups differ significantly in their lexical usage (at .001 level), the younger informants use more standard Thai lexical items than the older informants. However, the informants of the 7 tambons including the ones inside and outside the tourist areas do not differ in their lexical usage.

Keywords: dialectology, lexical variation, southern Thai, Koh Samui dialect, age group

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบว่าภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยเป็นส่วนหนึ่งของภาษาถิ่นย่อยใด โดยศึกษาจากการใช้คำศัพท์ เป็นภาษาลูกผสมในความหมายที่กว้างขึ้นหรือไม่อย่างไร และวิเคราะห์การแปรของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยตามถิ่นที่อยู่และรุ่นอายุของผู้พูด จำนวนผู้บอกภาษาในงานวิจัยนี้มีทั้งหมด 140 คน จากทุกตำบลในอำเภอเกาะสมุยจำนวน 7 ตำบล ผู้บอกภาษาตำบลละ 20 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 10-20 ปี และรุ่นอายุ 60-70 ปี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี งานวิจัยนี้ใช้หน่วยอรรถทั้งสิ้น 200 หน่วยอรรถ โดยแบ่งหน่วยอรรถออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 50 หน่วยอรรถ เพื่อศึกษาคำศัพท์ที่ต่างประเภทกัน ได้แก่ หน่วยอรรถกลุ่มที่ 1 เป็นหน่วยอรรถสำหรับศึกษาคำศัพท์ภาษาไทย 4 ถิ่น หน่วยอรรถกลุ่มที่ 2 เป็นหน่วยอรรถสำหรับศึกษาคำศัพท์ภาษาไทย ถิ่นใต้ตะวันตกและภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก หน่วยอรรถกลุ่มที่ 3 เป็นหน่วยอรรถสำหรับศึกษาคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป และหน่วยอรรถกลุ่มที่ 4 เป็นหน่วยอรรถสำหรับศึกษาคำศัพท์ภาษาเฉพาะถิ่นเกาะสมุย ผลการวิจัยแสดงว่าภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยใช้ทั้งภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตกและภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก โดยใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตกมากกว่าภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก นอกจากนี้ยังพบว่า ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยเป็นภาษาลูกผสมในความหมาย กว้าง กล่าวคือ ผู้บอกภาษาใช้คำศัพท์หลายประเภ ทปะปนกัน ได้แก่ คำศัพท์ภาษาไทย 4 ถิ่น คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป คำศัพท์ภาษาเฉพาะถิ่นเกาะสมุย คำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานและใช้คำศัพท์ที่จัดกลุ่มไม่ได้ด้วย นอกจากนี้พบว่า การใช้ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยในระดับตำบลและรุ่นอายุมีลักษณะเป็นภาษาลูกผสมในทุกกรณี ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยมีความแตกต่างกันในระดับรุ่นอายุแต่ไม่มีความแตกต่างกันในระดับตำบล กล่าวคือ ผู้บอกภาษารุ่นอายุน้อยใช้คำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากกว่าผู้บอกภาษารุ่นอายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.001 และพบว่าคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยที่ใช้ในตำบลต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งตำบลที่มี นักท่องเที่ยวมากและตำบลที่มีนักท่องเที่ยวน้อย

คำสำคัญ: การแปรของคำศัพท์ ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุย ภาษาไทยถิ่นใต้ รุ่นอายุ วิทยาภาษาถิ่น

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=370