หรรษา นิลวิเชียร, .,
Wirat Thummarpon, ., & and Achara Thummarpon, H. (2006, June 20). การพัฒนาแบบจำลองหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการประเมินคุณภาพการศึกษา
Developing Graduate Curriculum Modesl in Educational Quality Assessment . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 12(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=349.

การพัฒนาแบบจำลองหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการประเมินคุณภาพการศึกษา
Developing Graduate Curriculum Modesl in Educational Quality Assessment

วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, หรรษา นิลวิเชียร,
และ อัจฉรา ธรรมาภรณ์
Wirat Thummarpon,
Hansa Nilvichien and Achara Thummarpon,

Abstract

This quantitative-qualitative research aimed 1) to develop graduate curriculum models in educational quality assessment, 2) to study the needs for educational quality assessors, their expected competence and desirable characteristics, and 3) to study the feasibility of implementing the developed curriculum models. It was found that: 1. 84 % of the educational institutions needed educational quality assessors and most of them needed assessors with a Master’s degree. Overall, they needed assistance for the entire quality assurance system. 2. From documentary research, 2 curriculum models were found: with and without a thesis; and the total credit hours ranged from 30-40. 3. Four curriculum models were developed: a Graduate Diploma Program, a Master of Education Program with coursework and a thesis, a Master of Education Program with coursework and a mini thesis; and a Master of Education Program with coursework, a mini thesis and field work. 4. 64 % of the Faculties or Colleges of Education could implement the Diploma Program; 44 % could launch the Master Programs; and 36 % could implement none of them. Their main problems were lack of personnel, equipment and information sources.

Keywords: curriculum model, educational quality assessment, quality assurance

บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการประเมินคุณภาพการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการ สมรรถนะ และคุณลักษณะของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แบบจำลองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ร้อยละ 84 ของสถานศึกษาต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการประเมินคุณภาพการศึกษาและส่วนใหญ่ต้องการผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาโท สถานศึกษาโดยรวมต้องการความช่วยเหลือด้านการประกันคุณภาพทั้งระบบ 2. แบบจำลองหลักสูตรจากการวิเคราะห์เอกสารมี 2 แบบ คือแบบมีวิทยานิพนธ์ กับแบบไม่มีวิทยานิพนธ์ โดยมีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 30-48 หน่วยกิต 3. แบบจำลองหลักสูตรที่ได้จากการสังเคราะห์ มี 4 แบบ คือ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรระดับมหาบัณฑิตที่มีรายวิชาและวิทยานิพนธ์ หลักสูตรระดับมหาบัณฑิตที่มีรายวิชาและ สารนิพนธ์ และหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตที่มีรายวิชาสารนิพนธ์และการฝึกงาน 4. ร้อยละ 64 ของคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์สามารถจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตร ร้อยละ 44 สามารถจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทและร้อยละ 36 ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนทั้งสองระดับ ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน คือ ขาดบุคลากร อุปกรณ์และแหล่งศึกษาค้นคว้า

คำสำคัญ : การประกันคุณภาพ, การประเมินคุณภาพการศึกษา, แบบจำลองหลักสูตร

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=349