Thamnong Wongphut, . (2006, May 17). ลักษณะร่วมของนวนิยายไทยในยุคเริ่มต้น
Common Characteristics of Thai Novel in Its Early Period. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(5). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=343.

ลักษณะร่วมของนวนิยายไทยในยุคเริ่มต้น
Common Characteristics of Thai Novel in Its Early Period

ทำนอง วงศ์พุทธ
Thamnong Wongphut,

Abstract

Thai novels of the early period (1929-1957) refer to those that appeared during the time before Thailand entered democracy up until before the country fell under dictatorship. Such novels, apparently, have their own characteristics. Siburapha’s Luk Phuchai and Lae Pai Khangna, Prince Akatdamkerng Rabobadhana’s Lakhon Haeng Chiwit, Dokmaisot’s Phu Di, Riam-eng’s Thung Maharat, and Seni Saowaphong’s Pisat all stress that the value of human life is measured by his intrinsic worth, not physical appearances or extrinsic assets. This is evidenced in the protagonists who are trying, with dignity, to rise above poverty and humble birth or in those with high social status who are striving, with grace, amid uncertainties in life. These protagonists have different goals, ranging from self-devotion for the sake of the society attempts to learn life and prove his self-worth, reliability of family members, to participation in the villagers’ struggle to maintain their dignified way of life. It could be claimed that the essential values of humans and their responsibility are closely related. Such values stem from the old values rooted in Thai culture. Recurrent in these novels are the themes about the true values of mankind, most cherished in Early Rattanakosin literary works. Buddhist concepts, rural ways of life in which people undergo hardships together unwaveringly, and democratic consciousness are the sources of the common characteristics of Thai novels of this period.

Keywords : common characteristics, early period, Thai novels, values

บทคัดย่อ
นวนิยายไทยในยุคเริ่มต้น (2472-2500) หมายถึง นวนิยายไทยในช่วงที่เห็นชัดว่ามีลักษณะเป็นของตนเอง คืออยู่ในระยะก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจนถึงก่อนที่สังคมไทยจะตกอยู่ในระบอบเผด็จการ เมื่อศึกษาผลงาน ลูกผู้ชาย และแลไปข้างหน้า ของศรีบูรพา ละครแห่งชีวิต ของ ม.จ.อากาศดำเกิงรพีพัฒน์ ผู้ดี ของดอกไม้สด ทุ่งมหาราช ของเรียมเอง ปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ พบว่านวนิยายเหล่านี้เน้นคุณสมบัติภายในของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งชี้วัดคุณค่าของชีวิตมากกว่าคุณสมบัติภายนอก ดังเห็นได้ในตัวเอกทั้งที่สร้างตนขึ้นจากสถานะที่ยากจนและต่ำต้อย หรือตัวเอกในสถานะสูงแต่ต้องต่อสู้กับความผันผวนในชีวิต ถึงแม้ว่าตัวเอกเหล่านี้มีความมุ่งหมายในชีวิตต่างกันบ้าง ทั้งการอุทิศตนเพื่อความดีงามในสังคม หรือความพยายามเรียนรู้เพื่อพิสูจน์คุณค่าของตน การเป็นที่พึ่งของคนในครอบครัว ตลอดจนการร่วมต่อสู้กับชาวบ้านเพื่อรักษาวิถีชีวิตที่มีศักดิ์ศรีของประชาชน กล่าวได้ว่าคุณค่าที่สำคัญของมนุษย์เป็น คุณค่าที่สัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีรากฐานมาจากคุณค่าดั้งเดิมในวัฒนธรรมไทยด้วย โดยเฉพาะการสืบต่อจากแนวคิดที่เชิดชูคุณค่าของมนุษย์ในงานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มโนทัศน์จากพุทธศาสนา คุณค่าวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบทที่ต้องร่วมเป็นร่วมตายกัน ผนวกกับความสำนึกเรื่องประชาธิปไตย เป็นที่มาของลักษณะร่วมของนวนิยายไทยในยุคนี้

คำสำคัญ : คุณค่า, นวนิยายไทย, ยุคเริ่มต้น, ลักษณะร่วม

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=343