Chuchai Smithikrai, . (2005, November 29). ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย
Entrepreneurial Potential of Thai University Students . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=306.

ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย
Entrepreneurial Potential of Thai University Students

ชูชัย สมิทธิไกร
Chuchai Smithikrai,

Abstract

The objectives of this study were (1) to examine entrepreneurial potential of Thai university students; (2) to compare entrepreneurial potential based on several independent variables; and (3) to examine predictive power of attitude towards entrepreneurship, social norm, and perceived feasibility on students’ entrepreneurial intention. The subjects were 3,154 senior undergraduate students from 7 state-owned university. The research instruments consisted of a set of 6 questionnaires: (1) a demographic data questionnaire, (2) an entrepreneurial characteristics scale, (3) an attitude towards entrepreneurship scale, (4) an entrepreneurial intention scale, (5) a social norm scale, and (6) a perceived feasibility scale. Data analysis were performed by using t-test, analysis of variance, and multiple regression. The research found that (1) Thai university students had a moderate-to-high level of entrepreneurial potential; (2) there were no significant difference in entrepreneurial potential between students with different genders and fields of study; (3) there were significant differences in entrepreneurial potential among students with different business experiences, family incomes, and parents’ occupations; and (4) attitude towards entrepreneurship, social norm, and perception of feasibility jointly predicted students’ entrepreneurial intention.

Keywords: students, Thai universities, entrepreneurial potential,

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สามประการคือ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย (2) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการตามตัวแปรต่าง ๆ และ (3) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์ของทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ บรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้ความเป็นไปได้ในการเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 7 แห่ง รวม 3,154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัด 6 ชุด ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (2) แบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ (3) แบบวัดความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ (4) แบบวัดทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ (5) แบบวัดบรรทัดฐานทางสังคม และ (6) แบบวัดการรับรู้ความเป็นไปได้ในการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยใช้การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษามหาวิทยาลัยไทยโดยภาพรวมมีศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (2) นักศึกษาที่มีเพศ และเรียนกลุ่มวิชาที่แตกต่างกัน มีศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการไม่แตกต่างกัน (3) นักศึกษาที่มีประสบการณ์การประกอบธุรกิจ รายได้ต่อเดือนของครอบครัว และอาชีพของบิดา/มารดาที่แตกต่างกัน มีศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการแตกต่างกัน และ (4) ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ บรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้ความเป็นไปได้ในการเป็นผู้ประกอบการ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยได้

คำสำคัญ: นักศึกษา, มหาวิทยาลัยไทย, ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=306