กานดา พลอยขาว, ., และ วชิราภรณ์ เอี่ยมทองกุล, ., Kanda Ploykow, <., & and Wachiraporn Auimotongkul, R. (2005, March 11). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Emotional Quotient of First-year and Fourth-year Undergraduate Nursing Students in Prince of Songkla University. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 10(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=252.

ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Emotional Quotient of First-year and Fourth-year Undergraduate Nursing Students in Prince of Songkla University

สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ กานดา พลอยขาว,
รัตนาพร กว้างนอก และ วชิราภรณ์ เอี่ยมทองกุล,

Sunanta Youngwanichsate Kanda Ploykow,
Ratanaporn Kwangnog and Wachiraporn Auimotongkul,

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลจำนวน 106 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 53 คน และชั้นปีที่ 4 53 คน ในปีการศึกษา 2546 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งมีองค์ประกอบด้านดี เก่ง และสุข ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS /V10 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาทั้งชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ปกติของกรมสุขภาพจิต ในองค์ประกอบด้านดี นักศึกษาทั้งชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ปกติ สำหรับองค์ประกอบด้านเก่ง และสุข นั้น นักศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงกว่า หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ปกติเล็กน้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมสูงกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 แต่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษาพยาบาล, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract
The purpose of this study was to describe and compare emotional quotient of first- year and fourth- year undergraduate nursing students in Prince of Songkla University. The samples were 106 undergraduate nursing student, 53 first- year and 53 fourth- year in academic year 2003. Research instrument was mental health department’s emotional quotient assessment tool comprised good, intellectual, and happiness domains. Data were analyzed using the SPSS version 10 and range, arithmatic means, standard deviation were obtained. Comparison of means by independent t-test was performed using the same software. The results showed that the first-year and fourth-year nursing students’ emotional quotient were higher than the normal means of mental health department. In good domain of emotional quotient, they had higher means too. In intellectual, and happiness domains of emotional quotient, they had higher than the normal means or less than the normal means in some items. The fourth-year students’ emotional quotient was higher than the first-year students, but it is not statistically significant.

Keywords : emotional quotient, nursing student, Prince of Songkla University

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=252