และ บัญญัติ ยงย่วน, ., & and Banyat Yongyuan, <. (2005, March 11). ปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในภาวะรอพินิจ
Factors Affecting Academic Probation of Students of Prince of Songkla University, Pattani Campus. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 10(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=246.

ปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในภาวะรอพินิจ
Factors Affecting Academic Probation of Students of Prince of Songkla University, Pattani Campus

อริยา คูหา และ บัญญัติ ยงย่วน,

Ariya Kuha and Banyat Yongyuan,

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านภูมิหลัง จิตลักษณะ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในภาวะรอพินิจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี จากคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาลัยอิสลามศึกษา แบ่งเป็นนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในภาวะรอพินิจ จำนวน 115 คนและนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในภาวะปกติ จำนวน 225 คน ผลการศึกษา พบว่า ภูมิหลังของนักศึกษา อันได้แก่ สังกัดของโรงเรียนมัธยมศึกษาของนักศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลำดับคณะหรือสาขาวิชาที่สอบได้ และสายการเรียนในมหาวิทยาลัย (สายวิทยาศาสตร์หรือสายศิลปศาสตร์) มีความสัมพันธ์กับภาวะรอพินิจของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาที่มีพฤติกรรมผลัดวันประกันพรุ่งมีความน่าจะเป็นสูงที่จะมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนอยู่ในภาวะรอพินิจ ส่วนปัจจัยด้านจิตลักษณะ อันได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเจตคติต่อมหาวิทยาลัย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะรอพินิจของนักศึกษา

คำสำคัญ: จิตลักษณะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจ, พฤติกรรมการเรียน

Abstract
This research aimed to study the demographic factors, psychological characteristics, and learning behaviors, which affected the academic probation of students of Prince of Songkla University, Pattani campus. The samples were 340 four-year program undergraduate students from the Faculty of Education, Faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Science and Technology, and College of Islamic Studies. Among these, 115 were under academic probation, and 225 were not. It was found that such demographic factors as affiliation of the student’s schools, high school GPA, order of the Faculty or field of study selected, and field of pursuits (arts or science) correlated significantly with the student’s academic probation. Students with procrastination were more likely to be under academic probation. Psychological characteristics: internal locus of control, achievement motivation, and attitude toward the University had no correlation with the student’s academic probation.

Keywords: academic probation, psychological characteristics, learning behaviors

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=246