การวิจัยเรื่องนี้เสนอผลการวินิจฉัยเพื่อทำความเข้าใจพลวัต (dynamic) ของระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลหลายด้าน ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิ จากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ข้อมูลปฐมภูมิโดยการเลือกศึกษาฟาร์มต่าง ๆ ใน 3 หมู่บ้าน การสัมภาษณ์เกษตรกรรอบพื้นที่ศึกษาโดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานได้แก่ (1) การจำแนกเขตนิเวศเกษตรพร้อมกับการศึกษาวิวัฒนาการของระบบสังคมเกษตร
(2) ศึกษาประวัติและแนวโน้มของฟาร์มรวมทั้งคัดเลือกฟาร์มตัวอย่างมาศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงาน สรุปได้ว่าระบบการผลิตทางการเกษตรไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก รวมทั้งระบบไม่ประสบภาวะวิกฤติที่มากมายจนทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตทางเกษตรอย่างทันทีทันใด ความทันสมัยของการเกษตรในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการทำนา หรือการผลิตยางพาราเกิดขึ้นเพราะความเข้าใจเกี่ยวข้องทางการค้ากับเศรษฐกิจโลกภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดความแตกต่างกันภายในกลุ่มคนในระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพารา โดยวัดจากความแตกต่างทางด้านผลิต ภาพของแรงงานในครัวเรือนของเกษตรกรแต่ละประเภทรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างในระบบ ผลการศึกษาทำให้เสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราตั้งแต่ระดับประเทศจึงถึงระดับฟาร์มเพื่อความมีถาวรภาพ ได้แก่
(1) การพัฒนาโครงสร้างการตลาดขั้นต้น (2) การส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศเพื่อยกระดับราคายาง (3) การพัฒนาเพื่อความสามารถในการแปรรูปและขายยางภายในประเทศ (4) การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเกษตรกรอย่างจริงจังยิ่งขึ้น (5) การพัฒนาคุณภาพยางแผ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในโลกอนาคต (6) การใช้นโยบายลดราคาปัจจัยการผลิตทั้งทางด้านปัจจัยทางชีวภาพปัจจัยทางเคมี รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพด้วย (7) การยับยั้งไม่ให้แรงงานในท้องถิ่นต้องออกไปสู่ระบบอุตสาหกรรมเร็วเกินไปโดยการให้ความสำคัญกับเกษตรกรประเภทที่มีความสามารถในการออมน้อยกว่า และ (8) การพัฒนาระบบการปลูกพืชที่มีพื้นฐานของการปลูกยางพาราเป็นองค์ประกอบหนึ่งให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกรส่วนใหญ่ซึ่งมักจะเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นด้วย
คำสำคัญ : ระบบสังคมเกษตร ระบบการทำฟาร์ม ยางพารา พลวัตของสังคมเกษตร การปรับเปลี่ยน การพัฒนาที่ถาวร
This study aimed at understanding dynamic behaviors of natural rubber-based agrarian systems in the western part of the Songkhla Lake Basin. Both recorded information and interviews were used to analyze the data. The interviews were obtained by classifying the study area into different agro-ecological zones. Their history and evolutionary processes were analyzed in order to select the best representative farms for further study. It was concluded that existing agricultural production systems had not dramatically changed for more than three decades. There were no serious agricultural crises that abruptly changed the production relationship. Agricultural modernization in Thailand especially in rice and natural rubber production, was a result of increasing trade with the world economy after the end of World War II. However, economic linkages with the world economy created differences between groups of natural rubber growers in the region. The differences were decided by productivity of family labour and the relationships between plantation owners and their workers.
This study suggests ways to develop natural rubber-based agrarian systems at farm, regional, and national levels so as to maintain sustainability of the systems by (1) developing primary market infrastructures, (2) increasing domestic consumption of natural rubber,
(3) increasing added value of natural rubber and its related site efficiency (4) developing farmers organizations, (5) improving quality of rubber sheets to respond to the future international demand, (6) reducing prices of physical, biological and chemical input through government polices, (7) reducing the emigration rate of the population in natural, rubber-based agrarian society by increasing support for farmers who have less capacity for accumulation, and
(8) developing natural, rubber-based cropping systems adaptable to farmers short-term objectives.
Key Words : agrarian system, farming system, natural rubber, agrarian system dynamic, differentiction, sustainable development
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.