โชติกกำธร, ., & ธ.โปธิบาล, . (2004, December 14). ความแตกต่างระหว่างภาษาซาไกกับภาษาไทย : ระบบเสียง. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 1(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=239.

ความแตกต่างระหว่างภาษาซาไกกับภาษาไทย : ระบบเสียง

มณีรัตน์ โชติกกำธร, ภาควิชาภาษาตะวันตก
พรรัตน์ ธ.โปธิบาล, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบเสียงภาษาซาไกกับระบบเสียงภาษาไทยเป็นความพยายามที่จะนำเสนอลักษณะของภาษาซาไก ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลออสโตรเอเชีย ติค เพราะภาษาซาไกมีแนวโน้มว่าจะสูญหายไป เนื่องด้วยซาไกเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย และทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย และจำนวนผู้พูดภาษาซาไกลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากลักษณะการดำรงชีพแบบดั้งเดิมและไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวรประกอบกับอิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมของชนกลุ่มอื่นเหนือชนซาไก ผลการเปรียบเทียบพบว่าภาษาซาไกมีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยวจำนวน 22 หน่วยเสียง ได้แก่ / p t c k ph th ch b d g h m n N l w j / ส่วนภาษาไทยมีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยวจำนวน 21 หน่วยเสียง ได้แก่ / p t c k ? ph th ch kh b d f s m n N l r w j / หน่วยเสียงพยัญชนะควบกล่ำในภาษาซาไกมีเพียง 4 หน่วยเสียง ได้แก่ / pl bl kl khw / แต่ภาษาไทย มีหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล่ำทั้งสิ้น 11 หน่วยเสียง ได้แก่ / pl pr tr kl kr kw phl phr khl khr khw / สำหรับเสียงพยัญชนะที่ปรากฏเป็นพยัญชนะท้ายได้นั้นภาษาซาไกมีจำนวน 13 หน่วยเสียง ได้แก่ / p t c k ? h m n N w j / ส่วนภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะท้ายได้นั้นเพียง 9 หน่วยเสียง ได้แก่ / p t k ? m n N w j / ภาษาซาไกมีหน่วยเสียงสระเดี่ยวจำนวน 15 หน่วยเสียงซึ่งเป็นเสียงสระปกติ (clear vowels) 9 หน่วยเสียง และเสียงสระนาสิก (nasalized vowels) 6 หน่วยเสียง หน่วยเสียงทั้ง 2 ประเภทไม่มีความต่างด้านความสั้นยาวของเสียงสระส่วนระบบเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสระ จำนวน 18 หน่วยเสียง ซึ่งเป็นเสียงสระปกติทั้งหมด และระบบสระมีความต่างด้านความสั้นยาวของเสียง จึงแบ่งเป็นสระเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง และสระเสียงยาว 9 หน่วยเสียง ส่วนหน่วยเสียงสระผสมในภาษาซาไกมี 5 หน่วยเสียง ได้แก่ / Ie i3 ia *a ua / แต่ภาษาไทยมีหน่วยเสียงสระผสมเพียง 3 หน่วยเสียง คือ / ia *a ua / ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาซาไกไม่ได้เป็นหน่วยเสียงหรือเสียงที่จำแนกความหมายของคำ แต่เป็นเพียงลักษณะการออกเสียงที่ปรากฏในพยางค์ โดยมีเสียงพยัญชนะเป็นเสียงบ่งชี้ความสูงต่ำของระดับเสียงในพยางค์ นั้น ๆ ส่วนระบบเสียงสูงต่ำหรือระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง คำสำคัญ : ความแตกต่าง ภาษาซาไก – ไทย ระบบเสียง The objective of the comparative of phonology between the Sakai language of Satun and the Thai language is to show the characteristics of the Sakai language, one of the languages in Austroasiatic family, which has a high tendency to be extinct. Sakai people are a minority population living in the South of Thailand and the North of Malaysia. There are fewer Sakai groups nowadays , owing to their traditional way of life and their lack of permanent settlement, including the social and cultural influences from outsiders. The results of the comparative study are as follows. There are 22 consonants in the Sakai language / p t c k ? ph th ch kh b d g h m n N w j /. and 21 consonants in the Thai language / p t c k ? ph th ch kh b d f s h m n N l r w j /. There are 4 consonant clusters in the Sakai language /pl bl kl khw / and 11 in the Thai language / pl pr tr kl kr kw phl phr khl khr khw /. 13 final consonants occur in the Sakai language : / p t c k ? h m n n N w j / , but 9 final consonants occur in the Thai language / p t k ? m n N w j / . As for vowels, the Sakai language has 15 single vowels : 9 clear vowels and 6 nasalized vowels and there is no difference between the length of vowels. On the contrary, in the Thai language there are only 18 single clear vowels and there are differences between short and long vowels, which consist of 9 short vowels and 9 long vowels. The Sakai language also has 5 diphthongs / ie i3 ia *a ua / but the Thai language has only 3 / ia *a ua / . pitch in the Sakai language is not phonemically distinctive, It depends on the characteristics of consonants occurring in syllables while the pitch or tone in the Thai language consists of 5 tonemes. Keywords : Difference, Sakai Thai, Phonological System

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=239