สาลีเกษตร, ., สายธนู, ., & ปัทมเรขา, . (2004, December 14). ผลการนวัตกรรมไปสู่ชุมชนชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 1(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=238.

ผลการนวัตกรรมไปสู่ชุมชนชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค

ภูวดล สาลีเกษตร, นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม
สมเกียรติ สายธนู,
เกรียงศักดิ์ ปัทมเรขา, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษลักษณะโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคม การติดต่อ สื่อสารและจิตวิทยาการเลี้ยงโคของเกษตรกร ข้อจำกัดของการยอมรับการผสมเทียมโค ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผสมเทียมโค และผลที่เกิดจากการยอมรับการผสมเทียมโค ได้เลือกหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้านในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ทำการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาเป็นวิธีการในการคัดเลือกตัวอย่าง ใช้การสัมภาษณ์เป็นวิธีการในการรวบรวมข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จาการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ผู้รับการสัมภาษณ์มีฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่งงานแล้วนับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และมีความสามารถการอ่านออกเขียนได้ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นช่องทางที่สำคัญในการหาความรู้หรือข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร สื่อสารมวลชนมีบทบาทน้อยมาก ยกเว้นโทรทัศน์ ส่วนข้อจำกัดในการยอมรับการผสมเทียมโคคือการขาดความกระตือรือล้นและความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการผสมเทียมโค เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า มีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างผู้ยอมรับการผสมเทียมโคกับเกษตรกรผู้ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ผู้ยอมรับการผสมเทียมโคมีการศึกษาสูงกว่า และมีทัศนคติต่อกการผสมเทียมโคในระดับที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ในส่วนที่เกี่ยวกับผลที่มีต่อการยอมรับการผสมเทียมโค พบความแตกต่างทางสถิติคือเกษตรกรผู้ยอมรับการผสมเทียมโค มีจำนวนโคลูกผสมมากกว่าเกษตรกรผู้ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีการผสมเทียมโคไปสู่เกษตรกรได้ประสบความสำเร็จไปในระดับหนึ่งแล้ว ความสำเร็จของโครงการผสมเทียมโคจะเกิดขึ้นได้หากลดข้อจำกัดต่าง ๆลง นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ในการนำโครงการผสมเทียมโคไปส่งเสริมเผยแพร่ควรที่จะมีการวางแผนเป็นอย่างดีเพื่อเปิดโอกาสไปสู่การยอมรับที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถที่จะทำได้โดยการจัดให้มีการศึกษาอมรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเลี้ยงโค รวมทั้งการจัดหาเวชภัณฑ์และเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์สำหรับการทำแปลงหญ้า คำสำคัญ : ผล การนำ นวัตกรรม การยอมรับ โค การผสมเทียม ชุมชนชนบท The obkectives of the study were to investigate the socioeconomic, communication and psychological characteristics of farmers, pattems of cattleraising, constraints in the adoption of artificial insemination, and other factors associated with its adoption. Six villages in Amphoe Chana, Changwat Songkhla were selected as the study area. A simple random sampling was used to indentify sampling units, Personal interviews were employed in data collection. The analysis of data was undertaken by a computer. The findings of the study revealed most of the respondents were heads of the families, married and Buddhist. They had completed their Grade 4 education and were literate. Direct personal contact was found to be a major communication channel in seeking farm information, as opposed to mass media except television. The constraints in adopting cattle artificial insemination were due to the farmers’ misunderstanding and lack of enthusiasm about the procedure. In data analysis, the correlation coefficient between the adopters and non-adopters were found to be significantly different. The adoperes had a high level of education and were more competent than the non-adopters. They used a higher level of farm mechanization and had a more positive attitude towards artificial insemination than the non-adopters, The effect of the adoption was that the adopters owned more crossbred cattle than the non-adopters. The result showed that the introduction of cattle artificial insemination to farmers had been successful to a certain extent. Greater success in the project could be expected if the major constraints indentified could be eliminated. Strategies for the introduction of artificial insemination should be well planned to ensure more opportunities for its adoption by providing more education especially in cattle management, supplying medical materials and seeds for pasture establishment. Keywords : effects, introduction, innovation, adoption, cattle, arficial insemination, rural communities

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=238