นิสสภา, ., & ทุ่งหว้า, . (2004, December 8). การศึกษาต้นทุนการผลิตนมและการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตในจังหวัดพัทลุง. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 2(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=231.

การศึกษาต้นทุนการผลิตนมและการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตในจังหวัดพัทลุง

อยุทธ์ นิสสภา, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
สมยศ ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตนมดิบ ประเมินขนาดฟาร์มที่เหมาะสมที่จะให้ฟาร์มมีกำไรสูงสุด และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในฟาร์มเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาปัจจัยการผลิตที่สำคัญบางชนิด การวิจัยนี้ได้แบ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ส่วนกลุ่มที่สองก็คือเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของธนาคารดังกล่าว หลังจากนั้นก็ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาเพื่อคัดเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในการสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้วิธีการร้อยละ ความถี่ และความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชั่นต้นทุนและฟังก์ชั่นการผลิต ซึ่งในการประมานฟังก์ชั่นนั้นใช้วิธีการแบบกำลังสองน้อยที่สุด จากการศึกษาพบว่า ลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก ดั้งนั้นจึงรวมเกษตรกรทั้งสองกลุ่มเข้าด้วยกัน เพื่อศึกษาต้นทุนและความสัมพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากำไรที่เกษตรกรได้รับจากการผลิตน้ำนมดิบ 1 กิโลกรัมนั้นมีไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอและราคาที่ขายได้ก็เป็นราคาที่ควบคุม แนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นก็คือการเพิ่มการใช้อาหารข้น และลดการลงทุนทางด้านทรัพย์สินถาวรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคนมลง และเพื่อที่ทำให้เกษตรกรได้กำไรสูงสุดภายใต้โครงสร้างและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่นั้นเกษตรกรควรจะเพิ่มจำนวนโคที่ให้นมในฟาร์มให้มากขึ้น คำสำคัญ : การผลิตนม ขนาดฟาร์มที่เหมาะสม อัตราผลกำไร ฟังก์ชั่นต้นทุน ฟังค์ชั่นการผลิต The objectives of this study were to study the costs associated with milk production, to evaluate optimum farm size that gave maximum profitability and to observe changes in farming practices in response to changes in some significant input prices. Dairy farmers in Phatthalung Province were categorized into two groups, those who were members of the Bank of Agricultural and Agricultural Co-operative (BAAC) and those who were independent farmers. A simple random sampling was used to identify samples for personal interviews. The analysis of the data involved percentage, frequency and functional analysis. Cost and production functions were estimated using the ordinary least square regression. It was found that most important socio-economic characteristics of the two groups of dairy farmers were not significantly different. Therefore, functional analyses were carried out using pooled data. The study found that the dairy farmers in Phatthalung province had a marginal profit from producing a kg of milk. This was because of an inefficient use of inputs and controlled prices of milk. One way to improve this situation was to increase the use of concentrate feed and to invest less in assets. The farmers were suggested to increase their stock of milkable cows in order to attain the point of maximum profitability. Key Words : milk production, optimum farm size, profitability, cost function, production function

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=231