หมัดหมาน, . (2004, December 2). ศาสนาอิสลามกับการพัฒนาการศึกษา: แนวความคิดของมุหัมมัดอับดุฮ (1849 – 1905). Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 3(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=221.

ศาสนาอิสลามกับการพัฒนาการศึกษา: แนวความคิดของมุหัมมัดอับดุฮ (1849 – 1905)

หะสัน หมัดหมาน, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำแนวคิดของเชคมุหัมมัดอับดุฮ มาเสนอในฐานะที่เป็นนักวิชาการสมัยใหม่ เชคมุหัมมัดอับดุฮ นักคิดชาวอียิปต์แห่งศตวรรษที่ 19 ผู้นี้ เห็นว่าการจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมจะสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสังคม การจัดการศึกษาแบบสมดุลนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ท่านกล่าวว่าการศึกษาที่เหมาะสมนั้นต้องควบคู่กันไปทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านสอนให้ทุกคนใช้ความคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล และไม่ควรปฏิบัติตามโดยไม่ไตร่ตรอง แต่เหตุผลจะต้องไม่อยู่เหนือการวิวรณ์ (โองการต่าง ๆ ในอัล-กุรอาน ซึ่งอัลเลาะฮประทานมา) เชคมุหัมมัดอับดุฮ ต้องการที่จะนำประชาคมมุสลิมไปสู่ความเป็นอิสระทางแนวความคิด ไม่ต้องการให้อยู่ภายใต้สภาวะที่เรียกกันว่า อัต-ตักลีด อัล-อะห์มา หรือการปฏิบัติตามอย่างตาบอด ท่านส่งเสริมให้ศึกษาปรากฏการณ์บนพื้นโลก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์เอง การค้นหาสัจธรรมในปรากฏการณ์เหล่านี้ต้องไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม ท่านกล่าวว่าพระองค์ อัลเละฮได้ประทานคัมภีร์มาให้มนุษย์สองเล่ม เล่มหนึ่งคือปรากฏการณ์ต่าง ๆที่ถูกสร้างขึ้นบนผืนโลกและอีกเล่มหนึ่งคืออัล-กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มนุษย์จะต้องใช้สำรวจคัมภีร์เล่มแรก (คือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ) ด้วยสติปัญญาที่อัลเลาะฮมอบให้ เชคมุหัมมัดอับดุฮ ย้ำว่า ครูบาอาจารย์ต้องมีความพร้อมทั้งสองด้าน ทั้งทางโลกและทางธรรมเปรียบได้ดังแพทย์ทางจิตวิญญาณ ท่านกล่าวต่อไปว่ายารักษาโรคขนานแท้สำหรับสังคมมุสลิมนั้น คือ ความเข้าใจอย่างลึกซึ่งต่อคำสอนของศาสนาอิสลาม คำสำคัญ : การศึกษาอิสลาม ความสมดุลทางการศึกษา แพทย์ทางจิตวิญญาณ สุขภาพจิตและกาย เหตุผล วิวรณ์ This paper is aiming at presenting Shaykh Muhammad ‘Abduh’s ideas to readers in a hope that they will properly understand him. Shaykh Muhammad ‘Abduh, an Egyptian moderm thinker of the 19th century, sees that the adequate system of balance in education brings changes into society. His real interest is educational reform. ‘Abduh emphasises that proper education must cover two academic lines : general education and religious education. Man must speculate about life through reason to find truth, and shun away from blind imitation. Yet, reason should not take over the revelation. Shaykh Muhammad ‘Abduh wants to see Muslim community free from bondage. He encourages his people to investigate all phenomena it the world, for, he says, the phenomena will bring benefit to mankind, and the contemplation on God’s creation does not contradict to the teaching of Islam. Shaykh Muhammad ‘Abduh says that God has sent down two books : one created which is nature, and one revealed which his the Qur’an. The latter leads us to investigate the former by means of intelligence which was given to us so that man will understand the wonderful creation in a true sense. In fact, there is no contradiction between the Islamic teaching and sciences. Shaykh Muhammad ‘Abduh believes that those who were entrusted with the education of people and training of their morals are “physicians of souls and spirits” and should be familiar with the Islamic principles of moral health as physicians with those of physical health. Keywords : Islamic education, balance of education, physicians of souls and spirits, moral and physical health, reason, revelation

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=221