นาควัชระ, . (2004, December 2). มงแตนญ์กับศิลปะในการใช้ชีวิต. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 3(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=217.

มงแตนญ์กับศิลปะในการใช้ชีวิต

ทัศนีย์ นาควัชระ, วิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

มิแชล เดอ มงแตนญ์ เป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศลผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือ ปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของฝรั่งเศล ในบทนิพนธ์ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิต (Les Essais) (ค.ศ. 1580 และ ค.ศ. 1588) ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมเชิงอัตชีวประวัติ เราจะเห็นได้ว่า มงแตนญ์เป็นผู้ประสบความสำเร็จใจการวางตนให้อยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์คับขันรอบข้างระหว่างสงครามศาสนา อีกทั้งยังสามารถใช้ชีวิตด้วยความรื่นรมย์จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ศิลปะการใช้ชีวิตของเขาจึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันที่ประสบความผันผวนและความขัดแย้งอันรุนแรง จากการศึกษาวิเคราะห์ศิลปะการใช้ชีวิตของมงแตนญ์ เราจะเห็นได้ว่าประการแรกนักเขียนผู้นี้ใช้ชีวิตอย่างอิสระภายใต้กรอบประเพณี การใฝ่หาอิสรภาพของมงแตนญ์จะดำเนินควบคู่ไปกับความเป็นผู้อนุรักษ์นิยมประการที่สอง เขาใช้ทางสายกลางทั้งในชีวิตส่วานตัวและชีวิตการทำงานด้วยการเลี่ยงการทวนกระแสโลก ไม่วางตนสูงส่งเหนือผู้อื่น อนึ่งการยึดหลักทางสายกลางทำให้เขาเป็นผู้เจรจาความเมืองในระหว่างสงครามศาสนาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ประการที่สาม มงแตนญ์ใช้เวลาชั่วชีวิตไปในการแสวงหาความรู้ อันเป็นทางสร้างขันติธรรมเพื่อนำไปสู่สำนึกในภราดรภาพของมวลมนุษย์ ท้ายที่สุด เขาเผชิญความทุกข์อันเนื่องมาจากความป่วนไข้และความชราภาพ รวมทั้งความตายที่ย่างใกล้เข้ามาด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง ด้วยตระหนักดีว่าเขาได้บรรลุจุดหมายปลายทางในชีวิต คือการทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างสมบูรณ์ และได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าเพราะได้ตักตวงความรื่นรมย์ของชีวิตตามครรลองของธรรมชาติอย่างเต็มอิ่มจนชีวิตนี้ไม่เหลือสิ่งใดให้ห่วงหา นับได้ว่าความสำเร็จในชีวิตของเขาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ศิลปะในการดำเนินชีวิตดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง คำสำคัญ : มงแตนญ์ ยุคพื้นฟูศิลปวิทยาการ บทนิพนธ์ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิต อัตชีวประวัติศิลปะการใช้ชีวิต Michel de Montaigne ranks as one of the foremost writers of the late 16th century or late Renaissance period in France. His Essays (1580 & 1588), an autobiographical work, testify to his worldly wisdom in steering his way through the conflicts of religious wars and managing to live a fairly happy life. Montaigne’s art of living deserves serious study which might benefit our modern world beset by rapid changes and deep-rooted conflicts. In analysing Montaigne’s life, we can first discern that he could live rather freely within the bounds of tradition, his quest for freedom being well harmonized with a conservative bent Secondly, he steered a middle course both in his private life and in his work, always circumspect in not opposing the mainstream or placing himself above others. His moderation enabled him to act as a successful mediator in the religious wars. Thirdly, his entire life was devoted to a constant quest for knowledge, for tolerance and brotherhood among fellow-human beings. Last but not least, he undauntingly braved all sufferings coming from illness, old age and impending death, fully conscious that he had achieved his aim in life, in fulfilling the mission of a human being, a life well lived and fully enjoyed in perfect harmony with nature. Hence, there was nothing more to cling to. One may conclude that Montaigne’s success in life was due to his mastery of the art of living. Keywords : Montaigne, Renaissance, essays, autobiography, art of living

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=217