กาแลบือซาร์ เป็นท่าเรือเก่าแก่ในอดีต ตั้งอยู่ที่ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ท่าเรือนี้มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยให้พ่อค้าต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ไทรบุรี กลันตัน
ตรังกานู ปาหัง (มาเลเซีย) ปัตตาเวีย (อินโดนีเซีย) และจีน เป็นต้น กล่าวคือ ภายในพื้นที่มีเส้นทางน้ำซึ้งเหมาะสมแก่การเป็นเส้นทางค้าขายและยังมีของป่ามากมายที่ชาวต่างชาติต้องการซื้อนำกลับไปยังประเทศของตน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้กาแลบือซาร์กลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการค้าทางทะเลภูมิภาคนี้ ในปัจจุบันยังคงพบหลักฐานในพื้นที่บริเวณนี้ เช่น เสากระโดงเรือปักจมอยู่ในบริเวณท่าเรือ เศษชิ้นส่วนเครื่องถ้วยชามจำนวนมากปรากฏอยู่ตามพื้นบริเวณท่าเรือ ซากเตาเผา 4 กลุ่ม ชิ้นส่วนเซรามิคจำนวนมาก เงินเหรียญจีนและอาหรับเป็นต้น ด้วยเหตุนี้กาแลซาร์จึงน่าจะเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญก่อนการสร้างเมืองกรือแซะ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องมาจากทำเลที่ตั้งของเมืองกรือแซะเกิดจากการงอกตัวของเส้นทรายชายฝั่งที่เกิดขึ้นภายหลังพื้นที่บริเวณ
กาแลบือซาร์
คำสำคัญ : กาแลบือซาร์ ลังกาสุกะ กรือเซะ เตาเผาบ้านดี ของป่า เครื่องถ้วยชาม
kalaebesar harbour, once an old seaport, is located in Kamiyor Sub-district. Muang district, pattani Province. In the past, this harbour was geographically suitable for sea-trades with foreign merchants from Malaysia (Kedah, Kelantan, Terangnu, and pahang), Indonesia (Battavia), China, and many other lands. On the mainland, there were many inland waterways which conveniently provided trading routes. Furthermore, Pattani had a lot of forest products needed by foreign merchants who wanted to export them to their homeland markets. These factors all contributed to the rise of Kalaebesar as the regions key seaport center for commerce and culture.
As present, plentiful ruins can still be found in this area, including a mast of a large vessel buried in the shallow harbour area, traces of four brick-kiln sites, sherds of porcelain and ceramics, as well as Chinese and Arab coins. Thus, Kalaebesar should be considered the most important sea-trade before the rise of the Kersae center during the 20th21st century of the Buddist era since the site of Krusea center itself came form the growth of coastal sand bar which probably had emerged very much later then the Kalaebesae seaport itself.
Keywords : Kalaebesar, Langasuka, Krusae, Ban Di Kiln, forest products, porcelain
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.