สันติวรานนท์, ., บากา, ., วิเศษสุวรรณภูมิ, ., & วิเศษสุวรรณภูมิ, . (2004, December 1). ความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี กรณีศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=213.

ความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี กรณีศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

สุเทพ สันติวรานนท์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
ดลมนรรจน์ บากา, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา
เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ,
นพปฎล วิเศษสุวรรณภูมิ, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาร้อยละและระดับความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการไทยมุสลิมและไทยพุทธที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี และความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อข้อปฏิบัติและความขดัแย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติดังกล่าวตามตัวแปรประเภทกลุ่มตัวอย่าง ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย กระทรวงที่สังกัด อายุราชการ และระดับการศึกษาทางศาสนาอิสลาม (3) ศึกษาความเห็นของผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่นมุสลิม และนักวิชาการไทยมุสลิมและไทยพุทธเกี่ยวกับข้อปฏิบัติดังกล่าว โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 436 คน โดยมีเครื่องมือวิจัยเป็นแบบมาตรฐานการทดสอบที (t-test) การทดสอบเอฟ (F-test) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance) และการทดสอบเอฟโดยวิธีเชฟเฟ (Scheffe’s method) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมประชาชนไทยมุสลิมและข้าราชการไทยมุสลิมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติ แต่ประชาชนไทยพุทธและข้าราชการไทยพุทธไม่แน่ใจว่าจะเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าว 2. โดยภาพรวมทั้งประชาชนและข้าราชการไทยมุสลิมและไทยพุทธ ยังไม่แน่ใจว่าข้อปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้มีความขัดแย้งทางความคิดต่อกันหรือไม่ 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อข้อปฏิบัติบางตัวแปร 3.1 ประชาชนและข้าราชการไทยมุสลิม เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าวมากกว่าประชาชนและข้าราชการไทยพุทธ 3.2 ข้าราชการไทยพุทธสังกัดกระทรวงกลาฆหมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติมากกว่าข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย 4. ผลการเปรียบเทียบความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติบางตัวแปร 4.1 ข้าราชการไทยพุทธเห็นว่าข้อปฏิบัติดังกล่าว จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดต่อกันมากกว่าประชาชนไทยมุสลิม ประชาชนไทยพุทธและข้าราชการไทยมุสลิม 4.2 ข้าราชการไทยพุทธสังกัดกระทรวงต่างกัน เห็นว่าข้อปฏิบัติดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดต่อกันไม่แตกต่างกัน 5. ผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่นมุสลิม และนักวิชาการไทยมุสลิมและไทยพุทธส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติ ยกเว้นบางกลุ่มในบางประเด็นที่ไม่เห็นด้วย คำสำคัญ : ความคิดเห็น, ความขัดแย้งทางความคิด, ข้อปฏิบัติ, หลักศาสนาอิสลาม, จุฬาราชมนตรี, จังหวัดชายแดนภาคใต้ The purposes of this study were of threefold : (1) to investigate views of Muslim vs Buddist Thais and Muslim vs Buddhist government officials toward practices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree the Chief Imam of Muslims in Thailand as well as their view conflicts derived from such practices; (2) to compare views toward practices and their view conflicts derived from such practices in terms of sample type, religion, residence, ministerial office affiliation, years of service and Islamic education attainment; and (3) to investigate views of Isamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics regarding such practices. The samples were 436 residents of Muang District, Pattani Province. The research instrument was a 26-item. Data were analyzed using percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test of one-way ANOVA and Scheffe’s method. The findings were as follows. 1. It was found that for the overall views Muslim Thais and Muslim government officials agreed on the practices whereas the Buddhist counterparts were unsure of whether they all agreed on the practices. 2. It was found that for the overall views samples were unsure of whether they would agree on the fact that such practices would cause any view conflicts. 3. Comparison results of views for some variables were the following. 3.1 Muslim Thais and Muslim government officials agreed more with such practices than their Buddhist counterparts. 3.2 Buddhist government officials under the Ministry of Defense agreed more with such practices than their counterparts under the Ministries of Public Health. Interior, Education and University Affairs. 4. Comparison results of view conflicts for some variables derived from such practices include the following. 4.1 Buddhist government officials viewed that such practices would cause view conflicts more than Muslim Thais, Buddhist Thais and Muslim government officials did. 4.2 There was no difference in the views that such practices would cause view conflicts among Buddhist government officials under different ministries. 5. The majority of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics agreed on practices except for some disagreement in certain items among some groups. Keywords : views, view conflict, practices, Islamic principles, ‘Chularajamontree’ Chief Imam of Muslims, southern border provinces

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=213