ธรรมสัจการ, ., จันทร์แย้ม, ., & จันทวัฒนะ, . (2004, December 1). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดยาและสารเสพติดของผู้ป่วยในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=211.

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดยาและสารเสพติดของผู้ป่วยในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคใต้

วันชัย ธรรมสัจการ,
กานดา จันทร์แย้ม,
เนตรนภิส จันทวัฒนะ, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดยาและสารเสพติด โดยเน้นบทบาทของครอบครัว กลุ่มเพื่อน และบุคลิกภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ติดยาเสพติดที่เข้ามารับการบำบัดของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคใต้ จำนวน 30 คน เก็บ รวมรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และวิธีเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทดลองเสพยาเสพติดคือ สภาพครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ครอบครัวที่บิดา มารดาทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ ครอบครัวที่มีปัญหาหย่าร้าง ครอบครัวที่บิดาหรือมารดาหรือทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต ครอบครัวที่บิดามารดาไม่มีเวลาดูแลอบรมสั่งสอนลูกอันเนื่องมาจากหน้าที่การงานหรือปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงครอบครัวที่ลูกรู้สึกว่าบิดามารดารักลูกไม่เท่ากัน ทั้งนี้ปัญหาส่วนใหญ่มีสาเหตุจากบิดามากกว่ามารดา และส่วนใหญ่ช่วงเวลาที่เกิดปัญหาครอบครัวจะเป็นช่วงที่ลูกอยู่ในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการเพื่อน เมื่อไม่มีความสุขในครอบครัวก็จะหาความสุขจากการคบเพื่อนมาชดเชย แต่เนื่องจากเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวไม่สมบูรณ์ จึงขาดทักษะหรือวิจารณญาณในการเลือกคบเพื่อน และพร้อมที่จะทำตามที่เพื่อนชักชวนโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม ถ้าสถานการณ์เช่นนี้ผนวกเข้ากับลักษณะบุคลิกภาพส่วนบุคคล เช่น การชอบลอง ชอบการท้าทาย มีบุคลิกภาพแบบมุทะลุดุดัน รวมถึงการขาดความรัก ความภาคภูมิใจในครอบครัว เด็กก็จะมีโอกาสกลายเป็นคนติดยาเสพติดในที่สุด ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้คือ ทุกคน ทุกครอบครัว และสังคมควรให้ความสนใจสถาบันครอบครัวมากขึ้น และควรมีการส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งยิ่งขึ้น คำสำคัญ : ยาและสารเสพติด, อิทธิพลด้านครอบครัว, อิทธิพลด้านกลุ่มเพื่อน, ปัจจัยส่วนบุคคล, ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคใต้, ผู้ป่วย This research is intended to determine the factors which relate to drug and narcotic addiction. The study focuses on the roles of family, peer groups, and individual traits. Thirty subjects were drawn from the clients in the Southern Drug Dependence Treatment Center. The data was collected using interviews. Content analysis, percentages and arithmetic mean were used in data analysis. It was found that the initial factor leading to the use of addictive substances was imperfect families. This included families in which the parents frequently quarreled with each other, families with divorce problems, families with deceased parents or parent, families in which the parents did not have time to take care of their children due to job obligations or financial problems, and families in which the parents were partial to certain children. However, most problems were instigated more from the father than the mother. Besides, the time during which the family was in trouble coincided with the time when the children were in their childhood and adolescence, the period in which the children needed company and friends. Lack of family warmth led the children to seek compensation from friends. However, due to improper rearing, the children lacked skills and critical judgment in selecting friends and readily complied with their friends, irrespective of the consequences. Children were most likely to become addicts because of family strife coupled with the children’s personality such as imprudence, defiance and impetuosity as well as lack of love and pride in family. It was suggested in this study that more attention be paid to the family and that family strength be promoted. Keywords : drugs and narcotics, families influence, peer groups influence, individual personality, Southern Drug Dependence Treatment Center, clients

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=211