จันทรัตน์, . (2004, December 1). ปัจจัยจูงใจสู่ความร่วมมือด้านการตลาดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=207.

ปัจจัยจูงใจสู่ความร่วมมือด้านการตลาดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

จุฑามาศ จันทรัตน์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยอธิบายปัจจัยจูงใจและเงื่อนไขสำคัญซึ่งทำให้ผู้บริหารในประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือด้านการตลาด ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสำรวจความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือด้านการตลาดโดยมีปัจจัยจูงใจและเงื่อนไขที่สำคัญคือ การคาดหวังผลประโยชน์ที่จะได้รับการแลกเปลี่ยนผลผลประโยชน์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสัมพันธ์ทางสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความซับซ้อนและยุ่งยากในการดำเนินโครงการความร่วมมือให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ริเริ่มโครงการและผู้ประสานงานดำเนินการโครงการจนเสร็จสิ้น ทั้งนี้ผู้ริเริ่มโครงการจำเป็นต้องวางแผนและชี้แนะผลประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้ได้ใช้สหวิทยาการเพื่อรวบรวมทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจ การตัดสินใจ ผลสรุปจึงได้เสนอกรอบงานทฤษฎี ซึ่งสามารถนำเป็นฐานในการค้นคว้าในเรื่องนี้เพิ่มเติมและรวบรวมข้อเสนอแนะเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จของโครงการความร่วมมือด้านการตลาดสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย This article examines interorganisational collaboration between tourism organisations. Specifically, it discusses motivating factors and preconditions necessary for the successful coordination of tourism marketing in Thailand. Using qualitative study approach, the researcher explores the dynamics between tourism related organisations to participate in a collaborative marketing project. It was found that tourism managers participated in an event when they perceived mutual benefits to be gained from the collaborative venture. Personal relationship and social bond were found to be of significant factors. The results also strongly that the special nature of tourism industry and product requires event champions to (a) initiate the project. (b) to clearly articulate the contributions that each participant needs to make, as well as the benefits to be attained from co-operation. Based on a multidisciplinary approach, a theoretical framework is established for further research in this area. From the results of this research, managerial implications for collaborative tourism event pre-planning are established, to assist tourism managers develop successful collaborative campaigns. Keywords : collaborative marketing, tourism, motivating factors, planning คำสำคัญ : ความร่วมมือด้านการตลาด, การท่องเที่ยว, ปัจจัยจูงใจ, การวางแผน

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=207