เชิงเชาว์, ., บุญช่วย, ., & ทองคำ, . (2004, December 1). การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=199.

การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
อำภา บุญช่วย, ภาควิชาการศึกษา
ทวี ทองคำ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ คุณลักษณะของโรงเรียนคุณลักษณะของผู้บริหาร คุณลักษณะของครู คุณลักษณะของนักเรียน การบริหารโรงเรียน และการจัดการเรียนการสอนของครู รวมทั้งวิเคราะห์โครงสร้างขององค์ประกอบเหล่านี้ที่ร่วมกันส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนโดยใช้วิธีสร้างแบบจำลองโครงสร้างเชิงความแปรปรวนร่วม (covariance structure model) ขององค์ประกอบดังกล่าว โดยใช้แบบแบบถามและแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป STATISTICA (โปรแกรมย่อยที่ชื่อ SEPATH) ผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย (finai model) ประกอบด้วยอองค์ประกอบเพียงสามด้านเท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของโรงเเรียน ได้แก่ การบริหารโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู และคุณลักษณะของนักเรียน โดยคุณลักษณะของนักเรียนส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมากที่สุด ในขณะที่การจัดการเรียนการสอนของครูส่งผลโดยตรงน้อยที่สุด โดยองค์ประกอบด้านการบริหารโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนของครูต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่องค์ประกอบทั้งสองต่างไม่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านคุณลักษณะของนักเรียนแต่อย่างใด The purpose of this research was to investigate various factors related to the effectiveness of the Islamic Private schools in southern border provinces such as school characteristics, administrators characteristics, student’s characteristics, teacher’s characteristics, school administration, teacher’s instructional management. In addition, covariance structure model was constructed to explain relationship among various factors which contribute to school effectiveness. “STATISTICA” statistical package (submodule “SEPATH” ) was employed to create such model. Data were collected by using tests and questionnaire. The results indicated that only three factors included in the model were able to pinpoint school effectiveness. They were school administration, teacher’s instructional management and student’s instructional management were mutually correlated but both of them did not correlate with student’s characteristics. Keywords : school effectiveness, school administration, covariance structure model. Teacher’s instructional management, student’s characteristics, Islamic Private schools คำสำคัญ : ประสิทธิผลของโรงเรียน, การบริหารโรงเรียน, การจัดการเรียนการสอนของครู, คุณลักษณะของนักเรียน, แบบจำลองโครงสร้างเชิงความแปรปรวนร่วม, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=199