พรหมไพจิตร, . (1970, January 1). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษา ขยายโอกาสของเยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=197.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษา ขยายโอกาสของเยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทัศนีย์ พรหมไพจิตร, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติของเยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล) ตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ เยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2536-2538 แล้วเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษาตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 183 คน และเยาชนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีเดียวกันแต่ไม่ได้เรียนต่อในโรงเรียนเดิมจำนวน 268 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 451 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage stratifies random sampling) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นและดัดแปลงจากงานวิจัยของผู้อื่นจำนวน 2 ชุด นำไปสัมภาษณ์โดยครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสและสามารถพูดภาษามลายูท้องถิ่นได้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) และวิธีการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant analysis) ผลการวิจัยโดยภาพรวมพบว่า ปัจจัยด้านประชากร (เพศชาย และอายุน้อย) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (ผู้ปกครองประกอบอาชีพกรรมกร เป็นผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต และการมีปริมาณผลผลิตต่ำ) ปัจจัยด้านจิตวิทยา (เยาชนมีเจตคติต่อการเรียนการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (ความไม่สะดวกในการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน) มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสของเยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้พบว่า ปัจจัยด้านสังคมเป็นปัจจัยเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเรียนต่อและเมื่อวิเคราะห์เฉพาะปัจจัยรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสของเยาวชนไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้พบเช่นเดียวกันว่า ปัจจัยด้านสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการเรียนต่อดังกล่าว คำสำคัญ : คุณภาพการศึกษา, คุณภาพชีวิต, ประชากรศึกษา, เยาชนไทยในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้, มัธยมศึกษาตอนต้น The objective of this research was to investigate factors affecting further study at lower secondary classes in primary schools, under Expanding Education Opportunity Project of Thai Muslim youths in four southern border provinces (Yala, Pattani, Narathiwat and Satun). Through a multi-stage stratified random sampling method, a total of 451 samples were drawn from prathomsuksa six students who graduated during the academic years of 1993-1995, comprising 183 students who concurrently studying at lower secondary classes in primary schools under the Expanding Education Opportunity Project, and a sample of 286 youths who graduated from prathomsuksa six during the same period but did not further their study. Both groups of students were interviewed along with their parents. The research instrument consisted of two sets of structured interview form, constructed and furnished by the investigator. Data collection was conducted, using interview method, by primary school teachers who can speak Malay dialect. Data were analyzed by using percentage, Pearson’s product moment correlation and discriminate analysis. From the analysis of all factors considers, it was found that demographic factors (male, younger age), economic factors (parents’ occupation as worker, and lower productivity), psychological factors (youths’ attitudes towards learning and conforming to peer), and environmental factor (inconvenience of travelling to school) significantly affecting further study at lower secondary classes of Thai Muslim youths in the four southern provinces at .05 level. No relationship was found for social factors. When all factors were considered separately, it was found that demographic factors, economic factors, psychological factors, and environmental factor significantly affect further study at lower secondary classes of Thai Muslim youths in four southern provinces at .05 level. However, no relationship was found for social factors. Keywords : quality of education, quality of life, population education. Thai Muslim youths in four southern border provinces, Lower Secondary Education (LSE)

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=197