ศิริวัธนนุกูล, ., & น้อยสร้าง, . (1970, January 1). การยอมรับการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม : กรณีศึกษาเกษตรกรตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 6(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=185.

การยอมรับการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม : กรณีศึกษาเกษตรกรตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ยุพินพรรณ ศิริวัธนนุกูล, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เอกพงศ์ น้อยสร้าง, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางกลำ อำเภอบางกลำ จังหวัดสงขลา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภูมิหลัง เจตคติ แรงจูงใจของเกษตรกร กับการยอมรับการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมที่ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ประชากรทุกคน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 47.6 ปี ร้อยละ 88 เป็นเพศชาย และจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย 4.1 คน และมีแรงงานโดยเฉลี่ยในครอบครัว 2.1 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 26.9 ไร่ต่อครอบครัว มีรายได้เฉลี่ย 47,816.70 บาทต่อปี และมีการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนด้านการเกษตรเพียงส่วนน้อยโดยเฉลี่ย 25,300.00 บาทต่อครอบครัว เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.0) ได้รับความรู้โดยเข้ารับการอบรม การปลูกพืชอาหารสัตว์จากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.0) ได้รับความรู้โดยเข้ารับการอบรมการปลูกพืชอาหารสัตว์จากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เกษตรกรระดับแรงจูงใจของเกษตรกรที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เท่า ๆ กับเจตคติที่ดีต่อการปลูกพืช อาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อลูกผสม สำหรับระดับแรงจูงใจของเกษตรกรก่อนการตัดสินใจปลูกพืชอาหารสัตว์อยู่ในระดับสูง และระดับบการยอมรับของเกษตรกรด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์อยู่ในระดับปานกลาง ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติของปัจจัยบางประการกับการยอมรับการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม พบว่ารายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.21, p<0.05) เจตคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติ (r=0.36, p<0.01) และแรงงานในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ (r=0.46, p<0.01) กับการยอมรับการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์ วิทยาลัยเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยและกรมพัฒนาชุมชน เป็นต้น ควรมีแผนการแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์ไว้สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม 2) ควรให้มีการรวมกลุ่มการผลิตและจำหน่ายผลผลิตขึ้น 3) ควรทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับการปลูกพืชอาหารสัตว์และการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมไปสู่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเกษตรกร 4) ควรปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์สาธารณะให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอสำหรับเกษตรกร ตลอดจน 5) มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมให้มากขึ้น คำสำคัญ : การยอมรับ, การปลูกพืชอาหารสัตว์, การเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม, เกษตรกร The objectives of the study were to investigate the relationship between the general background, attitude, motivation of farmers and the adoption of forage crops for crossbred beef cattle. The research was based on survey data obtained from scheduled interviews. Statistical procedures used in analizing the data included percentage, means, standard deviation and correlation coefficient. The study revealed that the farmers had an average age of 47.6 years. More than 88 percent were male and finished grade 4 primary school education. The average family size was 4.1 with 2.1 laborers. The average size of land holdings was 26.9 rai per family and the average family income was 47,816.70 baht per year. Eighty-five percent of farmers had participated in forage crops for crossbred beef cattle training course from the livestock officers. They had a good attitude toward the livestock officers as well as toward forage crops for crossbred beef cattle. The level of farmers’ motivation to adopt forage crops was high and the level of farmers’ adoption of forage crop was moderate. Correlation analysis indicated that family income had positive and significant correlation (r=0.36, p<0.01) and family labor had negative and highly significant correlation (r=0.46, p<0.01) with adoption of forage crops for crossbred beef cattle. Recommendations of this study were 1) Livestock Development Department, Agricultural and Technology Colleges, Universities and Department of Community Development etc. should have extension plans in forage crops for crossbred beef cattle, 2) more groups of production and selling of products should be organized; 3) The new technologies in forage crops and crossbred beef cattle should be offered to livestock officers and farmers; 4) public pastures should be developed to be more suitable and sufficient for farmers. In addition 5) more research on forage crops for crossbred beef cattle should be done. Keywords : adoption, forage crops, crossbred beef cattle, farmers

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=185