เฉิดโฉม, ., ทองรักษ์, ., & สดุดี, . (1970, January 1). การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีการผลิตมังคุดในภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 6(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=184.

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีการผลิตมังคุดในภาคใต้

ปริญญา เฉิดโฉม, โครงการจัดตั้งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลั
สุธัญญา ทองรักษ์, โครงการจัดตั้งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลั
สายัณห์ สดุดี, ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากผลิตมังคุดโดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 4 แบบ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตทั้ง 4 แบบ โดยเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 1 เป็นเทคโนโลยีการผลิตแบบเดิมที่เกษตรกรใช้อยู่ (ใส่ปุ๋ย 15-15-15 เพื่อเตรียมต้น, 8-24-24 เพื่อบำรุงดอกและผล และ 13-13-21 เพื่อบำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น(จังหวัดพังงาไม่ใส่ปุ๋ย 8-24-24) และใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 10 กิโลกรัม/ต้น) ส่วนเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 2,3 และ 4 เป็นเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 2 (พ่นไทโอยูเรีย 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน, หลังแตกใบอ่อนพ่นปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 ผสมกรดฮิวมิค 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, ใส่ปุ๋ย 8-24-24 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น และหลังติดผลใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น และพ่นไฮฟอสจีเอ 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร), เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 3 (พ่นไทโอยูเรีย 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อชักนำการแตกใบอ่อน, หลังแตกใบอ่อน พ่นนูตราฟอสซุปเปอร์ เค 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, ใส่ปุ๋ย 8-24-24 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น และหลังติดผล ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 20 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น และพ่นนูตราฟอสซุปเปอร์ เค 40 กรัม+เกอร์มาร 20 มิลลิลิตร+ซอร์บาร์-สเปรย์ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และพ่นนูตราฟอสเอ็น 40 กรัม+นูตราฟอสซุปเปอร์ เค 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) และเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 4 (ก่อนแตกใบอ่อน พ่นยูเรียน 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังแตกใบอ่อน พ่นนูตราฟอสซุปเปอร์ เค 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, ใส่ปุ๋ย 8-24-24 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น หลังติดผลใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น (จังหวัดระนองใส่ 2 กิโลกรัม/ต้น) และพ่นนูตราฟอสซุปเปอร์ เค 40 กรัม+เกอร์มาร์ 20 มิลลิลิตร+ซอร์บาร์+สเปรย์ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และพ่นนูตราฟอสเอ็น 40 กรัม+นูตราฟอสซุปเปอร์ เค 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) การวิเคราะห์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน (cost return analysis) ข้อมูลได้จากแปลงทะลองในจังหวัดระนองและจังหวัดพังงา ระหว่างปี พ.ศ.2541-2542 ซึ่งผลการวิจัยในจังหวัดระนองพบว่า การใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 3 ใช้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุดคือ 18,778.25 บาท/ไร/ปี สูงกว่าผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 1 จำนวน 14,760.50 บาท/ไร่/ปี แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวต้องลงทุนสูงกว่าเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 1 จำนวน 918.20 บาท/ไร่/ปี สำหรับจังหวัดพังงา การใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 2 ให้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุดคือ 29,531.25 บาท/ไร่/ปี สูงกว่าผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 1 จำนวน 12,490.50 บาท/ไร่/ปี แตกเกษตรการต้องลงทุนสูงกว่าเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 1 จำนวน 2,082.50 บาท/ไร่/ปี จากผลการศึกษาสามารถแนะนำได้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการสวนมังคุด โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตแบบที่ 2 และ 3 จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงคุ้มค่าการลงทุน คำสำคัญ : การประเมินทางเศรษฐศาสตร์, มังคุด, การผลิต, เทคโนโลยี, ภาคใต้ The objectives of this research were 1) to analyze cost and returns from four types of technologies used in mangosteen production, and 2) to compare net returns among the four technologies. Type 1[after harvesting, 15-15-15 (3 kg pt-1) was applied; after leaf-flushing, 8-24-24 (3 kg pt-1) was applied (8-24-24 was not applied in Changwat Phanggna); after fruit-setting, 13-13-21 (3 kg pt-1) was applied; manure (10 kg pt-1) was applied] is the traditional technology used by the farmers. Type 2 [spraying thiourea ( 40 g/20 L water) to induce leaf-flushing; after leaf-flushing, (13-30-15 + humic acid/20 L water and 8-24-24 (2 kg pt-1) were applied; after fruit-setting, 13-13-21 (3 kg pt-1) and Highphos GA (40 cc/20 L water) were applied], type 3 [spraying thiourea ( 40 g/20 L water) to induce leaf-flushing; after leaf-flushing, Nutraphos super-K (4.0 g/20 L water) and 8-24-24 (2 kg pt-1) were applied; after fruit-setting, 13-13-21 (2 kg pt-1) + Nutraphos super –K 40 g + Germa 20 cc + Sorba spray (10 cc/20 L water) were applied followed by the application of Nutraphos –N 40 g + Nutraphos super –K 20 g/20 L water] and type 4 [spraying urea (40 g/20 L water) to induce leaf-flushing; after leaf-lushing, Nutraphos super –K (4.0g/20 L water) and 8-24-24 (2 kg pt-1) were applied; after fruit-setting, 13-13-21 (2 kg pt-1) + Nutraphos super –K 40 g + Germa 20 cc + Sorba spray (10 cc/20 L water) were applied followed by the application of Nutraphos – N 40 g + Nutraphos super –K 20 g/20 L water] are new technologies. An economic evaluation was conducted using cost return analysis. The data was obtained from 2 experimental sites in Changwat Ranong and Changwat Phanggna during 1998-1999. The resu;ts from the experiment in Changwat Ranong showed that technology type 3 gave the highest net return (18,778.25 baht per rai per year), higher than the net return from technology type 1 at 14,760.50 baht per rai per year, But, the production cost was higher by 918.20 baht per rai per year. In Changwat Phanggna, the higheest net return (29,531.25 baht per rai per year) was obtained from using technology type 3. This net return is higher than that from technology type 1 at 12,490.50 baht per rai, but an additional 2,082.50 baht per rai was required in production cost. Therefore, it is suggested that using technology types 2 and 3 in mangosteen production results in higher net return. Keyword : economic evaluation, mangosteen, technology, production, southern Thailand

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=184