ธรรมสัจการ, . (2004, October 21). การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยากับการทำงานในองค์กร. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 6(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=180.

การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยากับการทำงานในองค์กร

วัยชัย ธรรมสัจการ, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์

Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการเสริมสร้างพลังได้รับความสนใจศึกษาจากศาสตร์หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์การและการจัดการ ด้านการศึกษา ด้านการพยาบาลและสาธารณสุข ด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะจิตวิทยาชุมชน ตลอดจนด้านการเมืองการปกครอง เป็นต้น ในเวลาต่อมาได้มีนักวิชาการสนใจศึกษาแนวคิดการเสริมสร้างพลังที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก เรียกว่า “การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยา” หรือ “การเสริมสร้างพลังภายในของบุคคล” ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายของบทความนี้ โดยมีนักวิจัยด้านองค์การที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานในหน่วยงานได้นำแนวคิดการเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยาไปทดสอบโครงสร้างของแนวคิดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบยืนยัน (confirmatory factor analysis) พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านคุณค่าและความหมายของงานที่ทำ (meaning) ความเชื่อในความสามารถที่จะทำงานนั้น (competence) ความมีอิสระที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานได้ดีขึ้นด้วยตนเอง (self-determination) และความเชื่อว่าการทำงานในหน้าที่จะมีผลหรือมีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือความก้าวหน้าขององค์กร (impact) ซึ่งผลการศึกษากับกลุ่มผู้จัดการระดับกลางในองค์กรธุรกิจ พบว่า การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานบางอย่าง เช่น การติดและทำในสิ่งใหม่ (innovations) การกระตุ้นให้หัวหน้ากระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (upward influences) การมีประสิทธิผลในการทำงาน (work effectiveness) ที่ประเมินด้วยตนเอง และยังพบว่าการเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยามีคุณลักษณะเป็นตัวแปรสื่อกลาง (mediator) ระหว่างตัวแปรโครงสร้างทางสังคมของหน่วยงาน (social structure) กับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการทำงานบางประการ นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต คำสำคัญ : การเสริมสร้างพลัง, องค์การ, การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยา, พฤติกรรมการปฏิบัติงาน, สถานที่ทำงาน, ตัวแปรสื่อกลาง The study in the concept of empowerment is spread into many disciplines not only in organization and management but education, nursing and public health, psychology particularly in community psychology and political sciences also. In the latter, the concept of empowerment is specific studied in psychological empowerment or interpersonal empowerment which is the purpose of this article. The investigators in organization who are interested in work performance in the work units defined the concept of psychological empowerment into four dimensions : meaning, competence, self-determination, and impact and confirmed the construct by the Confirmatory Factor Analysis (CFA). The studies in the sample of middle managers in the workplaces express the relation between psychological empowerment and outcome behaviors such as innovations, upward influences, and work effectiveness evaluated by themselves; and the perception of empowerment shew the role being mediator between social structure in the work place and some behaviors extended to work performances. The future studies or research and recommendations are discussed in the article. Keywords : empowerment, organization, psychological empowerment, work performance, workplace, mediator variable

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=180