คงทอง, . (2004, October 21). ศึกษาจิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2525 จนถึง พ.ศ.2541. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 6(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=172.

ศึกษาจิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2525 จนถึง พ.ศ.2541

กมล คงทอง, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบอย่างศิลปะที่ปรากฏให้เห็นในสภาพรวมของเนื้อหา รูปแบบ กลวิธี และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์จิตกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ โดยถือเอาปรากฏการของผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ที่ปรากฏต่อสาธารณชนในภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึง พ.ศ. 2541 วิเคราะห์เทียบเคียงกับเกณฑ์การจัดระบบหมวดหมู่ผลงานจิตรกรรมที่สร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบอย่างศิลปะที่ปรากฏในภาคใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จนถึง พ.ศ. 2541 ด้านเนื้อหา ศิลปินนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมร้อยละ 52.67 เนื้อหาที่มนุษย์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วยกันร้อยละ 22.32 เนื้อหาที่เกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งไม่มีตัวตนร้อยละ 13.39 เนื้อหาที่เกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ร้อยละ 11.60 ด้านรูปแบบ ศิลปินนำเสนอรูปแบบแสดงความเป็นจริงร้อยละ 65.17 รูปแบบนามธรรมร้อยละ 16.07 รูปแบบผันแปร ความเป็นจริงร้อยละ 15.17 รูปแบบสัญลักษณ์ร้อยละ 3.57 ด้านกลวิธี ศิลปินนำเสนอกลวิธีภาพเขียนร้อยละ 66.07 กลวิธีผสมร้อยละ 19.64 กลวิธีการวาดเขียนร้อยละ 14.28 และกลวิธีจิตรกรรมการจัดวางร้อยละ 0 2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์จิตกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในสภาพรวมของแบบอย่างศิลปะทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ และกลวิธี พบว่าเป็นปัจจัยด้านประสบการณ์ร้อยละ 47.32 ปัจจัยด้านการเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมร้อยละ 34.82 ปัจจัยด้านปัญญาและความคิดร้อยละ 14.28 และปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร้อยละ 3.57 ผลการวิจัยแบบอย่างศิลปะและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์จิตกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2525 จนถึง พ.ศ.2541 ที่เคลื่อนไหวในรูปแบบนิทรรศการศิลปะต่อสาธารณชนในภาคใต้ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการโดยภาพรวมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะดังนี้ 1. จิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ระยะแรก ประมาณก่อนปี พ.ศ.2525 ถึง พ.ศ.2525-2534 เป็นช่วงระยะเริ่มต้นของจิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ ปรากฏผลงานจิตรกรรมแบบอย่างศิลปะที่หลากหลายทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบและกลวิธีมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบขบวนการกลุ่มศิลปิน โดยมีศูนย์กลางการเคลื่อนไหวทางศิลปะในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลาเป็นหลัก 2. จิตรกรรมร่วมสมัยในภาคใต้ระยะที่สอง ประมาณ พ.ศ. 2535- ปัจจุบัน (2541) เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวทางศิลปะที่หลากหลาย ทั้งในรูปของนิทรรศการเดี่ยวส่วนบุคคล นิทรรศการคู่ 2 คน นิทรรศการกลุ่มย่อย ตลอดจนการเคลื่อนไหวในรูปของขบวนการกลุ่มศิลปินที่ยังคงอยู่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางศิลปะในระดับนานาชาติ โดยมีศูนย์กลางการเคลื่อนไหวทางศิลปะในจังหวัดสงขลาโดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ คำสำคัญ : จิตรกรรมร่วมสมัย, แบบอย่างศิลปะ, เนื้อหาศิลปะ, รูปแบบศิลปะ, กลวิธีศิลปะ The objectives of this research were to study the art styles which appeared in the whole of art content, art form and art technique and the factors which affected the creating of contemporary painting in the south of Thailand using the phenomenon of contemporary painting which has been presented to the public since 1982 until 1998. All were analyzed and compared with the category system of painting. The results of this research were as follows. 1. The art styles which appeared in the south of Thailand since 1982 until 1998 were found to consist of the art content which the artists presented about “man and impersonal content” (52.67%) “man and other people content” (22.32%), “man and the intangibles content” (13.39%) and “man and his own nature content” (11.60%). Also, it was found that the art forms which the artists presented were about the realistic style (65.17%), abstract style (16.07%), unrealistic style (15.17%) and symbolic style ( 3.57%). The art techniques of the artists presentation were painting 66.07%, mixed medium 19.64%, drawing techniques 14.28% and painting installation 0% 2. It was found that the factors which affected the creating of contemporary painting in the south of Thailand reflected the whole status of art styles and composed of experienced factor 47.32%, social politics and environmental factor 34.82%, creativity and originality factor 14.28% and science and technology factor 3.57%. The results of researching the art styles and factors which affected creating contemporary painting in the south since 1982 until 1998 were presented in exhibitions to the southern public and reflected the whole content which can be divided into the following 2 periods. 1. The first period of southern contemporary painting (before 1982 and between 1982-2991) . This was the early period which represented various styles of painting such as art contents, art forms and art techniques. An artistic movement of art began in groups and was contred at Nakhon Si Thammarat and Songkhla 2. The second period of southern contemporary painting (1992-1998). The art movement greatly changed during this period. Most of the art exhibitions were solo exhibitions, duo exhibitions and a small group exhibitions, Along with the international art exchange where it was centred in Hat Yai, Songkhla. Keywords : contemporary painting, art style, art content, art form, art techniques

Full Text: Not available




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=172