ธรรมสัจการ, . (2004, October 21). สถานภาพปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับกับศึกษาวิจัยด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม : กรณีศึกษาจากฐานข้อมูล DAO, PsycLIT และ ERIC ระหว่างปี 1997-1998. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=170.

สถานภาพปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับกับศึกษาวิจัยด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม : กรณีศึกษาจากฐานข้อมูล DAO, PsycLIT และ ERIC ระหว่างปี 1997-1998

วันชัย ธรรมสัจการ, ภาควิชาสารรัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การประมวลข้อเขียนหรือผลงานวิจัยด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมจากฐานข้อมูล DAO, PsycLIT และ ERIC ระหว่างปี 1997-1998 มุ่งวิเคราะห์ในสองประเด็นหลัก ได้แก่ สถานภาพปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภทของข้อมูล ตัวแปรที่นำมาศึกษา เครื่องมือที่ใช้วัด ระเบียบวิธีวิจัย และข้อสรุปหรือผลการวิจัย และแนวโน้มในอนาคตของการศึกษาด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม ผลการประมวลพลว่า ข้อมูลที่รวบรวมได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อเขียนหรือบทความทางวิชาการ จำนวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.5 และรายงานการวิจัยจำนวน 68 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 94.5 ตัวแปรที่นำมาศึกษา เมื่อพิจารณาในฐานะตัวแปรอิสระอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด กลุ่มภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัว กลุ่มจิตลักษณะ และกลุ่มตัวแปรจัดกระทำ เมื่อพิจารณาในฐานะตัวแปรตามอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มเช่นกัน ได้แก่ กลุ่มจริยธรรม กลุ่มการรู้คิดและจิตลักษณะ กลุ่มค่านิยม และกลุ่มพฤติกรรมที่พึงปรารถนา/ไม่ปรารถนา ในด้านเครื่องมือที่ใช้วัด พบว่ามีเครื่องมือที่ใช้วัดเหตุผลเชิงจริยธรรมถึง 10 ประเภทที่ถูกนำมาใช้วัดมากที่สุด ได้แก่ แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมประเภท DIT (Defining Issues Test) ส่วนระเบียบวิธีวิจัยยังคงใช้วิธีวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลองเป็นส่วนใหญ่ สำหรับข้อสรุปหรือผลการวิจัยเมื่อพิจารณาโดยร่วมยังไม่บ่งชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า บุคคลที่มีสถานภาพมาแต่กำเนิดหรือภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัวต่างกัน จะมีเหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน แต่ผลค่อนข้างชี้ชัดว่า คนที่มีบุคลิกภาพต่างกันจะมีเหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน สำหรับการจัดกระทำเชิงทดลองพบว่ามีทั้งส่งผลและไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหตุผลเชิงจริยธรรมในบุคคล ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น รูปแบบหรือลักษณะการจัดกระทำ และลักษณะกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น คำสำคัญ : เหตุผลเชิงจริยธรรม, การประมวลเอกสาร, DAO, ERIC, PsycLIT, ฐานข้อมูล The review of the research results and articles in moral reasoning from DAO, PsycLIT and ERIC data bases, between 1997-1998, specified to two topics : recent status and trend in the future. The recent status was separated to the type of literatures, variables, constructions, research methods and conclusions. The findings of the review are as followed; literatures separating into two types : four articles and sixty eight research projects, 5.5% and 94.5% respectively. The independent variables were classified into four groups : inborn status, self experiences and back ground, traits and treatment variables; and dependent variables were separated into four groups also : morality, traits and cognitive, values and prosocial behaviors or not. There were ten constructions to measure in moral reasoning and the DIT(Defining Issues Test) was the most popular to be used. The comparative and experimental research designs were used more than the others designs. The over all conclusion of the review could not specify that the persons who had difference in inborn status or personal experiences differed in moral reasoning but the difference in personality influenced to moral reasoning. The moral reasoning were both effected and unaffected by the manipulated variables, depending on other factors, such as the type of programs or the kinds of sample, etc. Keywords : moral reasoning, review literatures, DAO, PsycLIT, ERIC, data bases

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=170